วันนี้ (28 เม.ย. 57) ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลนาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา นายสมชาย สุมนัสขจรกุล รองอธิบดีกรมเจ้าท่า พร้อมด้วย นายทวีวุฒิ สังข์ศิริ นายอำเภอจะนะ เป็นประธานเปิดการสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 โครงการศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบเพื่อก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา แห่ง 2 เพื่อให้ประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามามีส่วนร่วมการเสนอข้อคิดเห็น เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยมีประชาชนในพื้นที่ กว่า 200 คน เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและคัดค้านการก่อสร้าง
นายสมชาย สุมนัสขจรกุล รองอธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า โครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลา แห่งที่ 1 (สิงหนคร)ได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2531 และมีปริมาณตู้สินค้าที่ท่าเทียบเรือขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงมีความจำเป็นต้องมีแผนรองรับการขยายตัวของท่าเรือน้ำลึกสงขลา และเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือน้ำลึกบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าไทยตอนล่าง ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค โดยมีแนวทางการพัฒนาท่าเรือให้ได้มาตรฐานเรือขนส่งสินค้า สามารถเข้าจอดเทียบท่าเพื่อขนส่งสินค้าได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลา และสามารถเชื่อมโยงการขนส่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย และชายฝั่งทะเลอันดามัน รวมถึงการเชื่อมโยงเส้นทางการขนส่งสินค้าไปยังกลุ่มประเทศคู่ค้าสำคัญ ๆ
ก่อนหน้านี้ กรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างที่ปรึกษา ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนล่าง ในช่วงปี พ.ศ.2549 – 2552 และได้ข้อสรุปว่า พื้นที่บริเวณตำบลนาทับ อ.จะนะ มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นท่าเรือน้ำลึกสงขลา แห่งที่ 2 โดยที่ปรึกษาได้ดำเนินการออกแบบเบื้องต้น ท่าเทียบเรือ เขื่อนกันคลื่น ร่องน้ำทางเดินเรือ ถนนทางเข้าอาคารประกอบ และระบบสาธารณูปโภค ต่าง ๆ แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ มูลค่าการก่อสร้างรวมทั้งสิ้นประมาณ 11,000 ล้านบาท
การดำเนินการในวันนี้ เป็นขั้นตอนของการศึกษาทบทวนความเหมาะสม สำรวจ และออกแบบรายละเอียดโรงการ รวมทั้งศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้พิจารณาให้ความเห็นประกอบก่อนที่จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กฎหมายกำหนด
สำหรับบรรยากาศการแสดงความคิดเห็นในวันนี้ มีกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ ไม่เห็นด้วย และคัดค้านการก่อสร้างท่าเรือน้ำสงขลา แห่งที่ 2 เนื่องจากในพื้นที่ อ.จะนะ ได้มีการตั้งโรงไฟฟ้าจะนะ และโรงแยกก๊าชฯ อยู่ในพื้นอยู่แล้ว ซึ่งชาวบ้านได้รับผลกระทบในการประกอบอาชีพทางการประมง และสวนยางพารา และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นและภาคีเครือข่าย ได้แจกใบปลิวเพื่อสร้างความรู้ให้แก่ชาวบ้านที่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้ด้วยว่า “ท่าเรือมาแล้วมันกระทบบ้านเรายังไง” ความว่า เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่มิใช้เรือประมงแบบบ้านเรา ขนาดของเรือที่มีแรงสั่นสะเทือนทางน้ำ ไม่มีสัตว์น้ำที่ไหนอาศัยอยู่ได้ตามปกติ จะมีคราบน้ำมันและน้ำเสียที่ถ่ายลงมาจากเรือลงสู่ทะเล ชาวประมงไม่สามารถออกเรือหาปลาได้อย่างปกติ และเมื่อมีท่าเรือน้ำลึกเกิดขึ้น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ก็จะเกิดขึ้นตามมาแน่นอน เพราะ อ.จะนะมีทั้งโรงแยกก๊าชฯ และโรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นวัตถุดิบ และพลังงาน พร้อมสำหรับการสร้างนิคมอุตสาหกรรม และท้ายสุด บทเรียนจากชลบุรี พบว่าหากมีการสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกระยะที่ 1 ได้ ระยะ 2 3 4 ก็จะตามมาเต็มพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะนะอย่างแน่นอในอนาคตต่อไป
วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2557
จังหวัดเคลื่อนที่พังงาออกหน่วยให้บริการประชาชนแบบถึงพื้นที่ ณ หมู่บ้านเกาะไม้ไผ่ ตำบลเกาะปันหยี
จังหวัดพังงา โดยนายธำรงค์ เจริญกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นำคาราวานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนลงพื้นที่หมู่บ้านเกาะไม้ไผ่ ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา เพื่อออกหน่วยให้บริการประชาชนในพื้นที่ที่ห่างไกลและถิ่นทุรกันดารพร้อมพบปะเยี่ยมเยียน รับทราบปัญหาความต้องการของประชาชนแบบถึงพื้นที่
นายธำรงค์ เจริญกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา กล่าวว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้ก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐและเอกชนได้พบปะเยี่ยมเยียนประชาชน รับทราบปัญหา ความต้องการในเรื่องต่างๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงมากำหนดแนวทางพัฒนาจังหวัดต่อไป นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมมอบทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะไม้ไผ่ มอบถุงยังชีพแก่ผู้สูงอายุและผู้ยากไร้อีกด้วย สำหรับหมู่บ้านเกาะไม้ไผ่ ตำบลเกาะปันหยี มีราษฎรอาศัยอยู่ ๒๓๗ ครัวเรือน ประมาณ ๗๐๐ คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก ส่วนสภาพปัญหาความต้องการของประชาชนที่จังหวัดได้ลงพื้นที่เพื่อรับทราบในครั้งนี้ ประกอบด้วยปัญหาหลักๆคือ ปัญหาไฟฟ้าแสงสว่างที่ยังไปไม่ถึง ซึ่งยังต้องใช้เครื่องปั่นไฟ ปัญหาค่าน้ำประปาแพง ปัญหาบุคลากรครูมีน้อย ปัญหา รพ.สต.มีอุปกรณ์เครื่องมือไม่เพียงพอ ปัญหาการสัญจรเนื่องจากคลองตื้นเขินทำให้ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ทั้งนี้ทางจังหวัดจะนำปัญหาความต้องการดังกล่าวมาร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขต่อไป
นายธำรงค์ เจริญกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา กล่าวว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้ก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐและเอกชนได้พบปะเยี่ยมเยียนประชาชน รับทราบปัญหา ความต้องการในเรื่องต่างๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงมากำหนดแนวทางพัฒนาจังหวัดต่อไป นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมมอบทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะไม้ไผ่ มอบถุงยังชีพแก่ผู้สูงอายุและผู้ยากไร้อีกด้วย สำหรับหมู่บ้านเกาะไม้ไผ่ ตำบลเกาะปันหยี มีราษฎรอาศัยอยู่ ๒๓๗ ครัวเรือน ประมาณ ๗๐๐ คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก ส่วนสภาพปัญหาความต้องการของประชาชนที่จังหวัดได้ลงพื้นที่เพื่อรับทราบในครั้งนี้ ประกอบด้วยปัญหาหลักๆคือ ปัญหาไฟฟ้าแสงสว่างที่ยังไปไม่ถึง ซึ่งยังต้องใช้เครื่องปั่นไฟ ปัญหาค่าน้ำประปาแพง ปัญหาบุคลากรครูมีน้อย ปัญหา รพ.สต.มีอุปกรณ์เครื่องมือไม่เพียงพอ ปัญหาการสัญจรเนื่องจากคลองตื้นเขินทำให้ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ทั้งนี้ทางจังหวัดจะนำปัญหาความต้องการดังกล่าวมาร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขต่อไป
ศรัณยา สันติราชัย ภาพ/ข่าว
จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดนครศรีธรรมราช (กรอ.จว.นศ.)
วันนี้ (28 เมษายน 2557) ที่ห้องประชุมศรีวิชัย ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดนครศรีธรรมราช (กรอ.จว.นศ.) ครั้งที่ 1/2557 โดยมีว่าที่ร้อยตรีฐิตวัฒน เชาวลิต นายศิริพัฒ พัฒกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม รายงานสถานการณ์ด้านต่าง ๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ
นายบริรักษ์ ชูสิทธิ์ พาณิชย์จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เนื่องจากข้าวในลุ่มน้ำปากพนังราคายังไม่มีเสถียรภาพราคาในวันนี้อยู่ที่ 5,500 บาท ราคาซื้อขายที่ชาวนาได้ แต่ราคาที่จำนำอยู่ที่ 14,000-15,000 บาท แต่ปัญหาคือ ขณะนี้สิ่งที่ทุกคนเป็นห่วงคือโครงการรับจำนำข้าวว่ายังคงมีอยู่หรือไม่ ในเรื่องข้าวทางจังหวัดได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยการแต่งตั้งคณะทำงานขณะนี้มีอยู่หลายฝ่าย ทั้งคณะทำงานการจัดทำแนวทางการพัฒนาข้าว คณะกรรมการการกำกับดูแลการจำนำข้าวของจังหวัด คณะทำงานขับเคลื่อนเพื่อปฏิรูปการผลิตข้าว นอกจากนี้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ทุกจังหวัดทั่วประเทศจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการบริหารจัดการสินค้าข้าวอย่างยั่งยืน ซึ่งในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช คณะทำงานทั้ง 4 คณะจะมาประชุมหารือร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานไปพร้อมกันอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ทางเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนในเรื่องของข้าวขึ้น โดยกำหนดพื้นที่โซนนิ่ง และสถานที่ทำการการผลิตและการตลาด โดยการทำงานให้พิจารณาจากพื้นที่ปลูก พันธุ์ข้าวที่เหมาะสม ปริมาณในการบริโภคในจังหวัดกี่เปอร์เซ็น ส่งโรงสีกี่เปอร์เซ็น และเหลือข้าวอีกกี่เปอร์เซ็น ส่วนในปีงบประมาณ 2557 ได้ตั้งโครงการดำเนินงานในเรื่องของการส่งเสริมด้านการผลิต การบริโภค และการแปรรูปเพื่อจำหน่ายของกลุ่มในขณะเดียวกันบริหารจัดการการให้ความรู้ในเรื่องของการแปรรูป และการตลาดด้วย
นางสาววาริน ชินวงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจของจังหวัดนครศรีธรรมราช และ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ชุมพร-สุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช-พัทลุง) สู่การปฏิบัติในปี 2557-2558 ซึ่งรายได้ของภาคใต้จาก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอ่าวไทย กลุ่มอันดามัน และจังหวัดชายแดนใต้ ฝั่งอ่าวไทยมีรายได้สูงสุด รองลงมาฝั่งอันดามัน และ จังหวัดชายแดนใต้ รายได้ของฝั่งอ่าวไทยมาจากภาคการเกษตรมากที่สุด รองลงมาคือด้านการท่องเที่ยว ขณะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช รายได้สูงสุดมาจากภาคการเกษตร การปฏิบัติในปี 2557-2558 ในโครงการเกษตรยั่งยืน โครงการส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าทางเกษตรทั้งในและต่างประเทศ จะมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพและเอกภาพใน 3 มิติสำคัญทางการเกษตร และเศรษฐกิจทางการเกษตรร่วมกันของกลุ่มอ่าวไทย คือ ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การกระจายองค์ความรู้และรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการดูแลการผลิต ส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ ดูแลระดับราคาสินค้าเกษตร มุ่งพัฒนากระจายสินค้าการตลาดและระดับราคาผลผลิต นอกจากนี้ยังมีแผนการดำเนินงานในปี 2557-2558 ของกลุ่มอ่าวไทยชูผลิตภัณฑ์ข้าว ข้าวพื้นเมือง โดยมีเป้าประสงค์สร้างมูลค่าและห่วงโซ่ราคาของผลิตภัณฑ์ข้าว ซึ่งเป็นข้าวพื้นเมืองของฝั่งอ่าวไทย ทั้ง พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ภายใต้ชื่อ “ข้าวอ่าวไทย”
โอกาสนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังติดตามความก้าวหน้าของการจัดหาสถานที่ก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ซึ่งปัจจุบันมีเพียงแห่งเดียวคือที่บริเวณตลาดหัวอิฐ ที่เปิดให้บริการมานานทำให้เริ่มแออัดดังนั้น ที่ประชุม กรอ.จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเห็นสมควรให้มีการก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่สองขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว โดยให้ขนส่งจังหวัดเป็นประธานคณะทำงาน และมีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนภาคเอกชน เป็นคณะทำงาน โดยให้ไปศึกษาถึงความเหมาะสมว่าสมควรก่อสร้าง ซึ่งขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะทำงานและอยู่ระหว่างดำเนินการ
นายบริรักษ์ ชูสิทธิ์ พาณิชย์จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เนื่องจากข้าวในลุ่มน้ำปากพนังราคายังไม่มีเสถียรภาพราคาในวันนี้อยู่ที่ 5,500 บาท ราคาซื้อขายที่ชาวนาได้ แต่ราคาที่จำนำอยู่ที่ 14,000-15,000 บาท แต่ปัญหาคือ ขณะนี้สิ่งที่ทุกคนเป็นห่วงคือโครงการรับจำนำข้าวว่ายังคงมีอยู่หรือไม่ ในเรื่องข้าวทางจังหวัดได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยการแต่งตั้งคณะทำงานขณะนี้มีอยู่หลายฝ่าย ทั้งคณะทำงานการจัดทำแนวทางการพัฒนาข้าว คณะกรรมการการกำกับดูแลการจำนำข้าวของจังหวัด คณะทำงานขับเคลื่อนเพื่อปฏิรูปการผลิตข้าว นอกจากนี้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ทุกจังหวัดทั่วประเทศจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการบริหารจัดการสินค้าข้าวอย่างยั่งยืน ซึ่งในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช คณะทำงานทั้ง 4 คณะจะมาประชุมหารือร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานไปพร้อมกันอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ทางเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนในเรื่องของข้าวขึ้น โดยกำหนดพื้นที่โซนนิ่ง และสถานที่ทำการการผลิตและการตลาด โดยการทำงานให้พิจารณาจากพื้นที่ปลูก พันธุ์ข้าวที่เหมาะสม ปริมาณในการบริโภคในจังหวัดกี่เปอร์เซ็น ส่งโรงสีกี่เปอร์เซ็น และเหลือข้าวอีกกี่เปอร์เซ็น ส่วนในปีงบประมาณ 2557 ได้ตั้งโครงการดำเนินงานในเรื่องของการส่งเสริมด้านการผลิต การบริโภค และการแปรรูปเพื่อจำหน่ายของกลุ่มในขณะเดียวกันบริหารจัดการการให้ความรู้ในเรื่องของการแปรรูป และการตลาดด้วย
นางสาววาริน ชินวงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจของจังหวัดนครศรีธรรมราช และ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ชุมพร-สุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช-พัทลุง) สู่การปฏิบัติในปี 2557-2558 ซึ่งรายได้ของภาคใต้จาก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอ่าวไทย กลุ่มอันดามัน และจังหวัดชายแดนใต้ ฝั่งอ่าวไทยมีรายได้สูงสุด รองลงมาฝั่งอันดามัน และ จังหวัดชายแดนใต้ รายได้ของฝั่งอ่าวไทยมาจากภาคการเกษตรมากที่สุด รองลงมาคือด้านการท่องเที่ยว ขณะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช รายได้สูงสุดมาจากภาคการเกษตร การปฏิบัติในปี 2557-2558 ในโครงการเกษตรยั่งยืน โครงการส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าทางเกษตรทั้งในและต่างประเทศ จะมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพและเอกภาพใน 3 มิติสำคัญทางการเกษตร และเศรษฐกิจทางการเกษตรร่วมกันของกลุ่มอ่าวไทย คือ ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การกระจายองค์ความรู้และรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการดูแลการผลิต ส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ ดูแลระดับราคาสินค้าเกษตร มุ่งพัฒนากระจายสินค้าการตลาดและระดับราคาผลผลิต นอกจากนี้ยังมีแผนการดำเนินงานในปี 2557-2558 ของกลุ่มอ่าวไทยชูผลิตภัณฑ์ข้าว ข้าวพื้นเมือง โดยมีเป้าประสงค์สร้างมูลค่าและห่วงโซ่ราคาของผลิตภัณฑ์ข้าว ซึ่งเป็นข้าวพื้นเมืองของฝั่งอ่าวไทย ทั้ง พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ภายใต้ชื่อ “ข้าวอ่าวไทย”
โอกาสนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังติดตามความก้าวหน้าของการจัดหาสถานที่ก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ซึ่งปัจจุบันมีเพียงแห่งเดียวคือที่บริเวณตลาดหัวอิฐ ที่เปิดให้บริการมานานทำให้เริ่มแออัดดังนั้น ที่ประชุม กรอ.จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเห็นสมควรให้มีการก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่สองขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว โดยให้ขนส่งจังหวัดเป็นประธานคณะทำงาน และมีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนภาคเอกชน เป็นคณะทำงาน โดยให้ไปศึกษาถึงความเหมาะสมว่าสมควรก่อสร้าง ซึ่งขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะทำงานและอยู่ระหว่างดำเนินการ
พรรณี กลสามัญ/ภาพ-ข่าว
งหวัดนครศรีธรรมราช ประชุมอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยเป็นธรรม
วันนี้ (28 เมษายน 2557) ณ ห้องประชุมปฏิบัติการ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช นายศิริพัฒ พัฒกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 1 ประจำปี 2557 โดยมีคณะกรรมการ หัวหน้าส่วนราช ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม รับทราบสถานการณ์และการดำเนินคุ้มครองผู้บริโภค ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 23 เมษายน 2557โดยคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคโดยนำข้อร้องเรียนมาดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้คำปรึกษาปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์ ตรวจสอบพฤติการณ์การประกอบธุรกิจ เผยแพร่การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งการจัดสัมมนาและ ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า นโยบายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคส่วนภูมิภาค รัฐบาลให้ความสำคัญและถือเป็นเรื่องเร่งด่วน โดยให้อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ต้องดำเนินการอย่างจริงจังและนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยและเป็นธรรมในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการสามารคปกป้องตนเองมิให้ถูกละเมิดสิทธิ โดยการรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจจัดตั้งองค์กรอิสระผู้บริโภคบังคับใช้มาตรการกฎหมายที่ให้การคุ้มครองผู้บริโภคโดยเคร่งครัดรวมทั้งการใช้กลไกทางกฎหมายในการป้องกัน สำหรับปัญหาที่ทุกภาคส่วนจะต้องหาแนวทางในการแก้ไขในการประชุมในวันนี้ คือ ปัญหาการปลอมบนข้าสาร ปัญหาข้าวหอมมะลิปลอม, ปัญหาราคาเนื้อหมูมีราคาแพง และปัญหาของผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมกรณีนำรถยนต์เข้าซ่อมที่อู่ซ่อมรถยนต์ทางอู่คิดค่าซ่อมแพงเกินจริง
รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า นโยบายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคส่วนภูมิภาค รัฐบาลให้ความสำคัญและถือเป็นเรื่องเร่งด่วน โดยให้อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ต้องดำเนินการอย่างจริงจังและนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยและเป็นธรรมในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการสามารคปกป้องตนเองมิให้ถูกละเมิดสิทธิ โดยการรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจจัดตั้งองค์กรอิสระผู้บริโภคบังคับใช้มาตรการกฎหมายที่ให้การคุ้มครองผู้บริโภคโดยเคร่งครัดรวมทั้งการใช้กลไกทางกฎหมายในการป้องกัน สำหรับปัญหาที่ทุกภาคส่วนจะต้องหาแนวทางในการแก้ไขในการประชุมในวันนี้ คือ ปัญหาการปลอมบนข้าสาร ปัญหาข้าวหอมมะลิปลอม, ปัญหาราคาเนื้อหมูมีราคาแพง และปัญหาของผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมกรณีนำรถยนต์เข้าซ่อมที่อู่ซ่อมรถยนต์ทางอู่คิดค่าซ่อมแพงเกินจริง
พรรณี กลสามัญ/ภาพ-ข่าว
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม สืบหาบุคคลสูญหาย
ด้วยศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดนครพนม สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม ได้รับแจ้งจาก นายพิชิต บุตรบุรี อายุ 62 ปี อยู่บ้านเลขที่ 37 หมู่ที่ 10 ตำบลพนอม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นพี่ชาย (ต่างมารดา) ของนายธวัช บุตรบุรี อายุ 38 ปี เกิดวันที่ 7 พฤศจิกายน 2519 แจ้งว่า เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 นายธวัช บุตรบุรี ได้ไปเที่ยวงานประเพณีพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และได้หายตัวไป ไม่สามารถติดต่อไป ไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด เนื่องจากนายธวัช มีอาการป่วยต้องกินยาคลายเครียด ที่โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ เป็นประจำ เกรงว่าอาจถูกล่อลวงไปในทางเสียหายหรืออาจตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์
เพื่อเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพ หากผู้ใดมีข้อมูล เบาะแส หรือพบเห็นบุคคลดังกล่าว กรุณาแจ้งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม ศาลากลางจังหวัดนครพนม (หลังใหม่) ชั้น 1 หมายเลขโทรศัพท์ 042-511506, 042-511022 รหือ นางมลีจัน บุตรบุรี (มารดา) หมายเลขโทรศัพท์ 087-9167022, นายพิชิต บุตรบุรี (พี่ชายต่างมารดา) หมายเลขโทรศัพท์ 081-1839961 หรือศูนย์ช่วยเหลือสังคม OSCC 1300
เพื่อเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพ หากผู้ใดมีข้อมูล เบาะแส หรือพบเห็นบุคคลดังกล่าว กรุณาแจ้งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม ศาลากลางจังหวัดนครพนม (หลังใหม่) ชั้น 1 หมายเลขโทรศัพท์ 042-511506, 042-511022 รหือ นางมลีจัน บุตรบุรี (มารดา) หมายเลขโทรศัพท์ 087-9167022, นายพิชิต บุตรบุรี (พี่ชายต่างมารดา) หมายเลขโทรศัพท์ 081-1839961 หรือศูนย์ช่วยเหลือสังคม OSCC 1300
จังหวัดชุมพร จัดงานรัฐพิธีถวายราชสดุดีเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
วันที่ (25 เม.ย. 57) เวลา 09.00 น. ณ หอประชุมเทศบาลเมืองชุมพร นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ร่วมกันวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ และถวายราชสดุดีต่อพระบรมสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณพระองค์ท่านที่ทรงพระปรีชาสามารถกล้าหาญเด็ดเดี่ยวสร้างความเป็นเอกราชให้แก่ชาติไทย และเพื่อเป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 กำหนดให้วันที่ 25 เมษายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และกำหนดให้ส่วนราชการทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคประกอบพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ พร้อมกันทั่วประเทศ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.2098 ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก
โดยมีพระเชษฐภคินี คือ พระสุพรรณกัลยา และพระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2133 โดยทรงครองสิริราชสมบัติ 15 ปี จึงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2148 รวมพระชนมพรรษา 50 พรรษา ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เป็นคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ด้วยการทรงอุทิศพระวรกายทำราชการสงคราม เกือบตลอดรัชสมัย พระบรมเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ของพระองค์นั้นแผ่ไพศาล ทำให้อริราชศัตรูเกิดความยำเกรงในอำนาจ ส่งผลให้แผ่นดินไทยร่มเย็นเป็นสุขว่างจากการศึกสงคราม เป็นเวลาถึง 100 ปีเศษ โดยทรงกอบกู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ส่วนทางด้านทิศเหนือได้แผ่พระราชอำนาจไปถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด ซึ่งรวมถึงรัฐไทใหญ่บางรัฐ ทำให้แผ่นดินไทยดำรงความเป็นชาติเอกราช มาตราบจนทุกวันนี้
โดยมีพระเชษฐภคินี คือ พระสุพรรณกัลยา และพระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2133 โดยทรงครองสิริราชสมบัติ 15 ปี จึงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2148 รวมพระชนมพรรษา 50 พรรษา ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เป็นคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ด้วยการทรงอุทิศพระวรกายทำราชการสงคราม เกือบตลอดรัชสมัย พระบรมเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ของพระองค์นั้นแผ่ไพศาล ทำให้อริราชศัตรูเกิดความยำเกรงในอำนาจ ส่งผลให้แผ่นดินไทยร่มเย็นเป็นสุขว่างจากการศึกสงคราม เป็นเวลาถึง 100 ปีเศษ โดยทรงกอบกู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ส่วนทางด้านทิศเหนือได้แผ่พระราชอำนาจไปถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด ซึ่งรวมถึงรัฐไทใหญ่บางรัฐ ทำให้แผ่นดินไทยดำรงความเป็นชาติเอกราช มาตราบจนทุกวันนี้
สมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ ม.รามฯ จัดประชุมสัญจรพร้อมมอบจักรยานให้นักเรียนชุมพร
วันที่ 26 เม.ย. 2557 เวลา 09.30 น. ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดชุมพร สมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ นายกสมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมด้วยคณะเดินทางมาจัดการประชุมสัญจร ครั้งที่ 3 ประจำปี 2557 โดย นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นผู้ให้การต้อนรับด้วยตนเอง
ซึ่งการประชุมสัญจรในครั้งนี้ เป็นพบปะพูดคุย เผยแพร่พัฒนาการความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมถึงสานความสัมพันธ์ของศิษย์เก่า นักศึกษา และคณาจารย์ โดยที่ผ่านมา สมาคมได้ดำเนินกิจกรรมสำคัญๆ เช่น การจัดนิทรรศการวิชาการ การเสวนาทางวิชาการ การคัดเลือกศิษย์เก่าดีเด่นที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและสังคม ตลอดจนกิจกรรมทางสังคมและการกุศลต่างๆ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
ในโอกาสนี้ สมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ยังได้มอบรถจักรยานให้แก่นักเรียนที่ยากจน ผู้ด้อยโอกาส และอยู่ห่างไกลทุรกันดาร รวมจำนวน 130 คัน เพื่อให้เด็กนักเรียนใช้เป็นพาหนะในการเดินทางไปโรงเรียนได้สะดวกขึ้น และช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองอีกทางหนึ่ง รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียนและเยาวชนได้เห็นคุณค่าของการลดการใช้พลังงานน้ำมัน และเป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย โดยมีคณะผู้บริการศึกษา ครู และน้องๆ นักเรียน จาก 22 โรงเรียนในเขตจังหวัดเดินทาง มารับมอบจักรยาน ซึ่งเป็นโครงการ "พี่ให้น้องยืมไปโรงเรียน" ของสมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นอกจากนี้ยังได้มอบเงินสนับสนุนนักกีฬาคนพิการที่กำลังเก็บตัวไปแข่งขันที่ประเทศเกาหลีใต้ จำนวน 30,000 บาท อีกด้วย
ซึ่งการประชุมสัญจรในครั้งนี้ เป็นพบปะพูดคุย เผยแพร่พัฒนาการความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมถึงสานความสัมพันธ์ของศิษย์เก่า นักศึกษา และคณาจารย์ โดยที่ผ่านมา สมาคมได้ดำเนินกิจกรรมสำคัญๆ เช่น การจัดนิทรรศการวิชาการ การเสวนาทางวิชาการ การคัดเลือกศิษย์เก่าดีเด่นที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและสังคม ตลอดจนกิจกรรมทางสังคมและการกุศลต่างๆ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
ในโอกาสนี้ สมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ยังได้มอบรถจักรยานให้แก่นักเรียนที่ยากจน ผู้ด้อยโอกาส และอยู่ห่างไกลทุรกันดาร รวมจำนวน 130 คัน เพื่อให้เด็กนักเรียนใช้เป็นพาหนะในการเดินทางไปโรงเรียนได้สะดวกขึ้น และช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองอีกทางหนึ่ง รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียนและเยาวชนได้เห็นคุณค่าของการลดการใช้พลังงานน้ำมัน และเป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย โดยมีคณะผู้บริการศึกษา ครู และน้องๆ นักเรียน จาก 22 โรงเรียนในเขตจังหวัดเดินทาง มารับมอบจักรยาน ซึ่งเป็นโครงการ "พี่ให้น้องยืมไปโรงเรียน" ของสมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นอกจากนี้ยังได้มอบเงินสนับสนุนนักกีฬาคนพิการที่กำลังเก็บตัวไปแข่งขันที่ประเทศเกาหลีใต้ จำนวน 30,000 บาท อีกด้วย
ขอเชิญร่วมสมทบทุนเข้าโครงการสองล้อ รวมล้านดวงใจ คนไทยรักด้ามขวาน
นางชุติมา มณีโชติ ประชาสัมพันธ์จังหวัดชุมพร ได้รับการประสานจาก นายภิญโญ แก้วภิญโญ หัวหน้าโครงการสองล้อ รวมล้านดวงใจ คนไทยรักด้ามขวาน ว่า เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา รวมทั้ง 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา โดยมีเหตุการณ์ลอบทำร้าย วางเพลิง วางระเบิด ก่อการร้ายและจลาจล เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ซึ่งประจำอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชนเสี่ยงภัยจากเหตุการณ์เหล่านี้ และในขณะเดียวกันเครื่องมือที่จะใช้ป้องกันตัวของเจ้าหน้าที่ทหารและระวังภัยจากการก่อการร้ายไม่พอต่อความต้องการ ทางสามาคมกีฬายิงปืนรณยุทธ์ประเทศ ไทย ชมรมลูกซองรณยุทธ์ (ประเทศไทย) ชมรมไรเฟิลรณยุทธ์ (ประเทศไทย) และสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย จึงมีแนวคิดร่วมกันจัดโครงการ "สองล้อ รวมล้านดวงใจ คนไทยรักด้ามขวาน" ขึ้น เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อใช้ประโยชน์ในการดูแล 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมอบทุนเพื่อเยียวยาดูแลครอบครัวผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ความไม่สงบ รวมทั้งสร้างจิตสำนึกให้กับคนไทยเกิดความสามัคคี รักชาติ หวงแหนแผ่นดินด้ามขวาน และต่อต้านความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
ทั้งนี้โครงการ "สองล้อ รวมล้านดวงใจ คนไทยรักด้ามขวาน" เริ่มระหว่างวันที่ 27 เม.ย. - 11 พ.ค. 2557 จาก กรุงเทพมหานคร - เพชรบุรี - หัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร - ระนอง - สุราษฎ์ธานธานี - กระบี่ - พังงา - ภูเก็ต - ตรัง - สตูล ก่อนไปสิ้นสุดที่ สงขลา โดยจะปั่นมาถึงจังหวัดชุมพร วันที่ 30 เม.ย. 57 ซึ่งจะมาพักที่ศาลากลางจังหวัดชุมพร ก่อนมุ่งหน้าสู่จังหวัดระนองในวันที่ 1 พ.ค. 57 จึงขอเชิญชวนชาวจังหวัดชุมพรร่วมบริจาคสนับสนุนเงินเข้ากองทุน โครงการ "สองล้อ รวมล้านดวงใจ คนไทยรักด้ามขวาน" เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นให้กับเจ้าหน้าที่และเยียวยาผู้ประสบภัยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ต่อไป
ทั้งนี้โครงการ "สองล้อ รวมล้านดวงใจ คนไทยรักด้ามขวาน" เริ่มระหว่างวันที่ 27 เม.ย. - 11 พ.ค. 2557 จาก กรุงเทพมหานคร - เพชรบุรี - หัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร - ระนอง - สุราษฎ์ธานธานี - กระบี่ - พังงา - ภูเก็ต - ตรัง - สตูล ก่อนไปสิ้นสุดที่ สงขลา โดยจะปั่นมาถึงจังหวัดชุมพร วันที่ 30 เม.ย. 57 ซึ่งจะมาพักที่ศาลากลางจังหวัดชุมพร ก่อนมุ่งหน้าสู่จังหวัดระนองในวันที่ 1 พ.ค. 57 จึงขอเชิญชวนชาวจังหวัดชุมพรร่วมบริจาคสนับสนุนเงินเข้ากองทุน โครงการ "สองล้อ รวมล้านดวงใจ คนไทยรักด้ามขวาน" เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นให้กับเจ้าหน้าที่และเยียวยาผู้ประสบภัยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)