วันที่ 9 มิ.ย. 2557 ณ วัดถ้ำสิงห์ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร จังหวัดชุมพร จัดประชุมพระสังฆาธิการ จังหวัดชุมพร ประจำปี 2557 ครั้งที่ 47 โดยมีพระสังฆาธิการ พระเลขานุการ และหัวหน้าที่พักสงฆ์ กว่า 400 รูป เข้าร่วมประชุมครั้งนี้
โดยจังหวัดชุมพร ได้จัดประชุมพระสังฆาธิการ พระเลขานุการ และหัวหน้าที่พักสงฆ์ ติดต่อกันมาเป็นครั้งที่ 47 แล้ว เริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 สมัย พระเดชพระคุณพระราชญาณกวี (บุญชวน เขมาภิรตเถระ) เจ้าคณะจังหวัดชุมพร และเจ้าอาวาสวัดขันเงิน เมื่อท่านถึงแก่มรณภาพแล้ว พระเดชพระคุณ พระธรรมโกศาจารย์ จจ.ชุมพร รูปปัจจุบันก็สืบทอดเจตนารมณ์จัดประชุมติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อระบบ การบริหารปกครอง การกำหนดยุทธศาสตร์ และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้พุทธประสงส์ที่ว่า "อภิณหสนฺนิปตา ภวถ สนฺนิปาต พหุลา ขอให้ประชุมกันเนืองๆ มีหลายเรื่องที่ต้องประชุม" เพื่อพบปะ สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ซักซ้อมทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ กติกา ต่างๆ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไขอุปสรรคในการบริหารคณะสงฆ์ รวมทั้งมีมติให้ส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไข ในเรื่องที่ควรส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขต่อไป
สำหรับการประชุมพระสังฆา ธิการ จังหวัดชุมพร ประจำปี 2557 ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-9 มิ.ย. 2557 ณ วัดถ้ำสิงห์ โดย พระธรรมวิมลโมลี จภ.16 เปิดการประชุมพร้อมบรรยาพิเศษ นอกจากนี้ยังมี นายเพทาย สดทรงศิลป์ ผอ.สนง.พระพุทธศาสนาจังหวัดชุมพร ร่วมบรรยายในเรื่อง "งานราชการ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร งานคณะสงฆ์" และพันเอก นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ ตั้งคณา ประธานกรรมการ บริษัท พัฒนาเพื่อชีวิตและสังคม จำกัด มาบรรยายพิเศษในหัวข้อ "บริหารงานคณะสงฆ์ให้สนุกในยุคไอที"
วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557
คณะอนุกรรมการฯ ลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ในจังหวัดชุมพร
วันที่ 10 มิ.ย. 2557 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมเกาะเสม็ด ศาลากลางจังหวัดชุมพร ชั้น 4 นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) นายสมนึก ชูวิเชียร อุปนายกสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทยฯ, นายสุชาติ สหัสโชติ กรรมการอำนวยการสมาคมนักปกครองแห่งประเทศไทย และ รศ.ตระกูล มีชัย รองศาสตราจารย์ประจำวิชารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ประจำปีงบประมาณ 2557 โดยมี ปลัดจังหวัดชุมพร ปลัดอำเภอ สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดชุมพร และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก
โดยคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) เป็นองค์กรที่ถูกเพิ่มเติมใน พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486 และมีการปรับปรุงโครงสร้าง อำนาจ หน้าที่ใหม่ ตามมาตรา 28 ตรี แห่งพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 มีหน้าที่ในการช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้าน ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายอำเภอมอบหมายหรือผู้ใหญ่บ้านร้องขอ รวมทั้งรับผิดชอบในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน และบริหารกิจกรรมที่ดำเนินในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรอื่นทุกภาคส่วน
ด้าน นายเลิศพรไชย ไชยฤทธิ์ ปลัดจังหวัดชุมพร กล่าวว่า จังหวัดชุมพรมีทั้งหมด 8 อำเภอ มีหมู่บ้านที่อยู่ในการปกครอง 737 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในกฎหมายปกครองท้องที่จำนวน 559 หมู่บ้าน และเป็นหมู่บ้านอาสาสมัครป้องกันตนเองจำนวน 178 หมู่บ้าน โดยการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ในจังหวัดชุมพร ได้มีการจัดอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในระดับอำเภอ และระดับตำบล ซึ่งได้แนะนำแนวทางในการพัฒนา ให้ความรู้ตามแนวทางของกรมการปกครอง ทั้งด้านการจัดระเบียบการบริหารจัดการหมู่บ้าน ด้านการปกครองและรักษา ความสงบเรียบร้อย ด้านแผนพัฒนาหมู่บ้าน การด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจ ด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข และด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งมีการนำมาปรับใช้อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ และการดำเนินงานพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งการแก้ไขปัญหายาเสพติด และการป้องกันภัยต่างๆ
ทั้งนี้ในที่ประชุมได้มีการเสนอให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาในเรื่องค่าตอบแทนของคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ เนื่องจากที่ผ่านมาส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องงบประมาณในการดำเนินการ ซึ่งหมู่บ้านเปรียบเสมือนรากฐานของแผ่นดิน หากรากฐาน มีความแข็งแรง ประเทศชาติย่อมแข็งแรงและมั่นคง กม. ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงานของทุกภาคส่วนในหมู่บ้าน จะต้องประสานการทำงานบริหารและพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดความเข้มแข็ง อันจะส่งผลรวมต่อการพัฒนา
โดยคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) เป็นองค์กรที่ถูกเพิ่มเติมใน พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486 และมีการปรับปรุงโครงสร้าง อำนาจ หน้าที่ใหม่ ตามมาตรา 28 ตรี แห่งพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 มีหน้าที่ในการช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้าน ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายอำเภอมอบหมายหรือผู้ใหญ่บ้านร้องขอ รวมทั้งรับผิดชอบในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน และบริหารกิจกรรมที่ดำเนินในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรอื่นทุกภาคส่วน
ด้าน นายเลิศพรไชย ไชยฤทธิ์ ปลัดจังหวัดชุมพร กล่าวว่า จังหวัดชุมพรมีทั้งหมด 8 อำเภอ มีหมู่บ้านที่อยู่ในการปกครอง 737 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในกฎหมายปกครองท้องที่จำนวน 559 หมู่บ้าน และเป็นหมู่บ้านอาสาสมัครป้องกันตนเองจำนวน 178 หมู่บ้าน โดยการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ในจังหวัดชุมพร ได้มีการจัดอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในระดับอำเภอ และระดับตำบล ซึ่งได้แนะนำแนวทางในการพัฒนา ให้ความรู้ตามแนวทางของกรมการปกครอง ทั้งด้านการจัดระเบียบการบริหารจัดการหมู่บ้าน ด้านการปกครองและรักษา ความสงบเรียบร้อย ด้านแผนพัฒนาหมู่บ้าน การด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจ ด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข และด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งมีการนำมาปรับใช้อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ และการดำเนินงานพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งการแก้ไขปัญหายาเสพติด และการป้องกันภัยต่างๆ
ทั้งนี้ในที่ประชุมได้มีการเสนอให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาในเรื่องค่าตอบแทนของคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ เนื่องจากที่ผ่านมาส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องงบประมาณในการดำเนินการ ซึ่งหมู่บ้านเปรียบเสมือนรากฐานของแผ่นดิน หากรากฐาน มีความแข็งแรง ประเทศชาติย่อมแข็งแรงและมั่นคง กม. ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงานของทุกภาคส่วนในหมู่บ้าน จะต้องประสานการทำงานบริหารและพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดความเข้มแข็ง อันจะส่งผลรวมต่อการพัฒนา
ขอเชิญชมรายการรอบภูมิภาค ตอน "ชุมพร คอฟฟี่วัลเลย์ สินค้าเกษตรชุมพรสู่สากล" ออกอากาศ 12 มิ.ย. นี้
นางชุติมา มณีโชติ ประชาสัมพันธ์จังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า จังหวัดชุมพรได้ดำเนินโครงการสินค้าเกษตรชุมพรสู่สากล Chumphon Coffee Vally เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟชุมพรทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญได้แก่ การศึกษาเพื่อหาศักยภาพโอกาส และแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟทุกระบบเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้กิจกรรมการเพิ่มผลผลิต การประกอบการ และการสร้างแบรนด์กาแฟชุมพรสู่สากล
ซึ่งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ได้มาบันทึกเทปในรายการรอบภูมิภาค ตอน "ชุมพร คอฟฟี่วัลเลย์ สินค้าเกษตรชุมพรสู่สากล" เพื่อแพร่ภาพออกอากาศทั่วประเทศ ให้กลุ่มผู้บริโภคกาแฟรู้จักกันอ ย่างแพร่หลาย ความยาว 25 นาที โดยมี นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร และนายบุญโชค ขนาบแก้ว อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร เป็นผู้ร่วมรายการ และนายฉัตรชัย จิตจำนอง เป็นผู้ดำเนินรายการ จึงขอเชิญชวนชาวจังหวัดชุมพร ร่วมชมรายการรอบภูมิภาค ตอน "ชุมพร คอฟฟี่วัลเลย์ สินค้าเกษตรชุมพรสู่สากล" ทางช่อง NBT โดยกำหนดออกอากาศวันที่ 12 มิถุนายน 2557 ในช่วงเวลา 05.00 - 05.30 น. และเวลา 15.00 - 15.30 น.
ซึ่งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ได้มาบันทึกเทปในรายการรอบภูมิภาค ตอน "ชุมพร คอฟฟี่วัลเลย์ สินค้าเกษตรชุมพรสู่สากล" เพื่อแพร่ภาพออกอากาศทั่วประเทศ ให้กลุ่มผู้บริโภคกาแฟรู้จักกันอ ย่างแพร่หลาย ความยาว 25 นาที โดยมี นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร และนายบุญโชค ขนาบแก้ว อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร เป็นผู้ร่วมรายการ และนายฉัตรชัย จิตจำนอง เป็นผู้ดำเนินรายการ จึงขอเชิญชวนชาวจังหวัดชุมพร ร่วมชมรายการรอบภูมิภาค ตอน "ชุมพร คอฟฟี่วัลเลย์ สินค้าเกษตรชุมพรสู่สากล" ทางช่อง NBT โดยกำหนดออกอากาศวันที่ 12 มิถุนายน 2557 ในช่วงเวลา 05.00 - 05.30 น. และเวลา 15.00 - 15.30 น.
ชุมพรแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมจัดกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 43 คัดเลือกภาค 4
นาย ชาติชาย อุทัยพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายนพพร อุสิทธิ์ นายกสมาคมกีฬาจังหวัดชุมพร และนายอธิคม ปานโต อัยการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาแห่ง ชาติ ครั้งที่ 43 และ กีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 33 คัดเลือกภาค 4 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ชมรมกีฬา และภาคเอกชนเข้าร่วมประชุมจำนวนมาก
นายชาติชาย อุทัยพันธ์ กล่าวว่า จังหวัดชุมพรได้รับเกียรติจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้เป็นเจ้าภาพร่วมกับจังหวัดระนอง จัดการแข่งขันกีฬาเยาชนแห่งชาติ ครั้งที่ 33 ปี 2560 ซึ่งจังหวัดชุมพรต้องเตรียมทั้งการจัดการแข่งขันและเตรียมนักกีฬา โดยการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 43 และกีฬาคนพิการแห่งชาติครั้งที่ 33 คัดเลือกภาค 4 ระหว่างวันที่ 1-9 กันยายน 2557 ถือว่าเป็นการซักซ้อมบุคลากรการจัดการแข่งขันไปสู่การเป็นเจ้าภาพกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 33 ระดับชาติปี 2560 ในอนาคต จึงต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เพื่อให้การจัดการแข่งขันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความประทับใจให้แก่นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ที่มาร่วมการ แข่งขัน อาทิ คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการจัดการแข่งขัน สำนักเลขาธิการ ฝ่ายพิธีเปิด-ปิด ฝ่ายเทคนิคกีฬา ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายรายงานและประเมินผล ฝ่ายแพทย์และพยาบาล ฝ่ายรักษาความปลอดภัย และฝ่ายเตรียมนักกีฬา เป็นต้น
สำหรับการแข่งขันกีฬาแห่ง ชาติ ครั้งที่ 43 และ กีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 33 คัดเลือกภาค 4 ใช้ชื่อเกมส์การแข่งขันว่า "กรมหลวงชุมพรเกมส์" มีสัญลักษณ์คือ รูปเสด็จเตี่ย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อยู่บนเกลียวคลื่นฯ มีมาสคอตคือ "ยุวชนทหาร" ชื่อน้องมิตรภาพ ภายใต้สโลแกนการแข่งขัน "เกมส์แห่งความสามัคคีปรองดอง มิตรภาพและสมานฉันท์" โดยกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 43 จัดแข่งขันทั้งหมด 43 ชนิดกีฬา ส่วนกีฬาคนพิการแห่งชาติ จัดแข่ง 18 ชนิดกีฬา ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้จะเป็นการคัดเลือกนักกีฬาตัวแทนของภาคใต้ที่ดีที่สุดเปรียบเสมือนชิงชนะเลิศกีฬาของภาคใต้ ซึ่งชุมพรต้องการให้นักกีฬาของทุกจังหวัดเข้าร่วมการแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ แต่อยู่บนฐานของความมีน้ำใจนักกีฬา มีความปรองดองสร้างมิตรภาพอันดีต่อกัน เพื่ออนาคตภาคใต้จะมีความสามานฉันท์ มีความเป็นพี่น้องสมานกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกันของด้ามขวานไทย
นายชาติชาย อุทัยพันธ์ กล่าวว่า จังหวัดชุมพรได้รับเกียรติจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้เป็นเจ้าภาพร่วมกับจังหวัดระนอง จัดการแข่งขันกีฬาเยาชนแห่งชาติ ครั้งที่ 33 ปี 2560 ซึ่งจังหวัดชุมพรต้องเตรียมทั้งการจัดการแข่งขันและเตรียมนักกีฬา โดยการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 43 และกีฬาคนพิการแห่งชาติครั้งที่ 33 คัดเลือกภาค 4 ระหว่างวันที่ 1-9 กันยายน 2557 ถือว่าเป็นการซักซ้อมบุคลากรการจัดการแข่งขันไปสู่การเป็นเจ้าภาพกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 33 ระดับชาติปี 2560 ในอนาคต จึงต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เพื่อให้การจัดการแข่งขันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความประทับใจให้แก่นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ที่มาร่วมการ แข่งขัน อาทิ คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการจัดการแข่งขัน สำนักเลขาธิการ ฝ่ายพิธีเปิด-ปิด ฝ่ายเทคนิคกีฬา ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายรายงานและประเมินผล ฝ่ายแพทย์และพยาบาล ฝ่ายรักษาความปลอดภัย และฝ่ายเตรียมนักกีฬา เป็นต้น
สำหรับการแข่งขันกีฬาแห่ง ชาติ ครั้งที่ 43 และ กีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 33 คัดเลือกภาค 4 ใช้ชื่อเกมส์การแข่งขันว่า "กรมหลวงชุมพรเกมส์" มีสัญลักษณ์คือ รูปเสด็จเตี่ย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อยู่บนเกลียวคลื่นฯ มีมาสคอตคือ "ยุวชนทหาร" ชื่อน้องมิตรภาพ ภายใต้สโลแกนการแข่งขัน "เกมส์แห่งความสามัคคีปรองดอง มิตรภาพและสมานฉันท์" โดยกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 43 จัดแข่งขันทั้งหมด 43 ชนิดกีฬา ส่วนกีฬาคนพิการแห่งชาติ จัดแข่ง 18 ชนิดกีฬา ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้จะเป็นการคัดเลือกนักกีฬาตัวแทนของภาคใต้ที่ดีที่สุดเปรียบเสมือนชิงชนะเลิศกีฬาของภาคใต้ ซึ่งชุมพรต้องการให้นักกีฬาของทุกจังหวัดเข้าร่วมการแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ แต่อยู่บนฐานของความมีน้ำใจนักกีฬา มีความปรองดองสร้างมิตรภาพอันดีต่อกัน เพื่ออนาคตภาคใต้จะมีความสามานฉันท์ มีความเป็นพี่น้องสมานกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกันของด้ามขวานไทย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)