เกษตรกรในตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จัดพิธีทำขวัญข้าว เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมการทำนาให้คงอยู่กับชาวนาตลอดไป
ที่ทุ่งนาบ้านหลักโยชน์ ตำมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงวันนี้(๒๖ ก.พ.๕๗) นายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วยนางปาริชาติ ศรีวิพัฒน์ รองอธิบดีกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวารินทร์ บุษบรรณ ที่ปรึกษากรมการข้าว ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และเกษตรกรชาวนาในตำบลมะกอกเหนือ ได้ร่วมกันประกอบพิธีทำขวัญข้าวสังข์หยด(GI) ผดุงวัฒนธรรมข้าวขึ้น เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมการทำนาของชาวพัทลุง ให้เป็นมรดกทางปัญญาแก่คนรุ่นหลังสืบไป
ทั้งนี้การทำขวัญข้าวถือเป็นพิธีกรรมสำคัญของชาวนา ที่แสดงออกถึงความกตัญญูและความเคารพต่อผู้มีพระคุณ โดยเฉพาะข้าวถือเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ให้อยู่รอด และเชื่อว่าข้าวที่ชาวนาหรือมนุษย์ทั้งหลายนำมาบริโภคนั้น เกิดจากความกรุณาของพระแม่โพสพ เทพนารีผู้รักษาข้าว ดั้งนั้นเมื่อจะทำการอันใดเกี่ยวข้องกับข้าว ทั้งการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว หรือเก็บข้าวขึ้นยุ้งฉาง ต้องทำพิธีบูชาแม่โพสพเสมอ เช่น ในฤดูเพาะปลูก ชาวนาทั่วไปจะทำพิธีแรกไถ แรกหว่าน ส่วนราชสำนักจะทำพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีที่ทำในภาพรวมของประเทศ ซึ่งหากชาวนาผู้ปลูกข้าวได้ทำพิธีเซ่นสรวงบูชาที่ถูกต้อง เป็นที่พึงพอใจแก่แม่โพสพ และเทวดาผู้ดูแลไร่นา ผลผลิตข้าวก็จะออกมาสมบูรณ์ สิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น หนู นก แมลงต่าง ๆ แม้แต่ไฟ ก็จะไม่มาเบียดเบียน และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวหรือชาวนาเรียกว่าข้าวสุกรวง ก่อนทำการเก็บเกี่ยวจะต้องมีการทำขวัญข้าวก่อน โดยมีการทำบายศรีและอาหารคาวหวาน ให้ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านทำพิธีสาธยายคำบูชาพระแม่โพสพ จากนั้นจึงให้เจ้าของนาเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งในอดีตชาวนาพัทลุงจะใช้แกรฺะเป็นอุปกรณ์ตัดข้าวทีละรวงแล้วนำมาผูกรวมเป็นกำเรียกว่าเลียงข้าว เมื่อได้เลียงข้าวก็จะนำไปจัดเก็บเป็นลอมไว้ในยุ้งฉาง หรือเรือนข้าว สิ้นฤดูเก็บเกี่ยวเรียบร้อยจึงทำขวัญข้าวอีกครั้งหนึ่ง
จะเห็นว่าการทำขวัญข้าวเป็นเรื่องของการสรรเสริญและบูชาพระคุณของแม่โพสพเป็นหลักสำคัญ ซึ่งมีตำนานกล่าวขานไว้มากและมีส่วนเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างใกล้ชิด การประพฤติต่อข้าวไม่ว่าจะเป็นการกินหรือการทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อเมล็ดข้าวหรือรวงข้าวจะต้องขอขมาทุกครั้ง เพราะชาวนาเชื่อว่าแม่โพสพเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะเมื่อข้าวสุกรวง ขวัญของแม่โพสพจะมาสถิตในรวงข้าว ช่วงเวลาดังกล่าวแม้แต่พระอาทิตย์ยังไม้กล้าข้ามหัวแม่โพสพ จึงเป็นที่มาของตะวันอ้อมข้าว
สำหรับในส่วนของจังหวัดพัทลุง ถือเป็นจังหวัดที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำมาแต่โบราณ เนื่องจากอยู่ในเขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว ดังนั้นจังหวัดพัทลุงจึงเป็นพื้นที่ที่มีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เช่น ข้าวเฉี้ยง ข้าวหัวนา ข้าวหนวยเขือ ข้าวเล็บนก ข้าวยาโค ข้าวเบาน้ำค้าง เป็นต้น และที่มีชื่อเสียงที่สุดขณะนี้คือข้าวสังข์หยด เพราะเป็นข้าวที่มีคุณประโยชน์สูงกว่าข้าวทั่วไป มีเส้นใยสูง มีสารอาหารบางชนิดที่บริโภคประจำแล้วจะช่วยชะลอความแก่ ป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้ และเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์พันธุ์แรกของไทย เป็นที่นิยมของผู้บริโภคอย่างมาก
ที่ทุ่งนาบ้านหลักโยชน์ ตำมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงวันนี้(๒๖ ก.พ.๕๗) นายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วยนางปาริชาติ ศรีวิพัฒน์ รองอธิบดีกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวารินทร์ บุษบรรณ ที่ปรึกษากรมการข้าว ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และเกษตรกรชาวนาในตำบลมะกอกเหนือ ได้ร่วมกันประกอบพิธีทำขวัญข้าวสังข์หยด(GI) ผดุงวัฒนธรรมข้าวขึ้น เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมการทำนาของชาวพัทลุง ให้เป็นมรดกทางปัญญาแก่คนรุ่นหลังสืบไป
ทั้งนี้การทำขวัญข้าวถือเป็นพิธีกรรมสำคัญของชาวนา ที่แสดงออกถึงความกตัญญูและความเคารพต่อผู้มีพระคุณ โดยเฉพาะข้าวถือเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ให้อยู่รอด และเชื่อว่าข้าวที่ชาวนาหรือมนุษย์ทั้งหลายนำมาบริโภคนั้น เกิดจากความกรุณาของพระแม่โพสพ เทพนารีผู้รักษาข้าว ดั้งนั้นเมื่อจะทำการอันใดเกี่ยวข้องกับข้าว ทั้งการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว หรือเก็บข้าวขึ้นยุ้งฉาง ต้องทำพิธีบูชาแม่โพสพเสมอ เช่น ในฤดูเพาะปลูก ชาวนาทั่วไปจะทำพิธีแรกไถ แรกหว่าน ส่วนราชสำนักจะทำพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีที่ทำในภาพรวมของประเทศ ซึ่งหากชาวนาผู้ปลูกข้าวได้ทำพิธีเซ่นสรวงบูชาที่ถูกต้อง เป็นที่พึงพอใจแก่แม่โพสพ และเทวดาผู้ดูแลไร่นา ผลผลิตข้าวก็จะออกมาสมบูรณ์ สิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น หนู นก แมลงต่าง ๆ แม้แต่ไฟ ก็จะไม่มาเบียดเบียน และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวหรือชาวนาเรียกว่าข้าวสุกรวง ก่อนทำการเก็บเกี่ยวจะต้องมีการทำขวัญข้าวก่อน โดยมีการทำบายศรีและอาหารคาวหวาน ให้ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านทำพิธีสาธยายคำบูชาพระแม่โพสพ จากนั้นจึงให้เจ้าของนาเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งในอดีตชาวนาพัทลุงจะใช้แกรฺะเป็นอุปกรณ์ตัดข้าวทีละรวงแล้วนำมาผูกรวมเป็นกำเรียกว่าเลียงข้าว เมื่อได้เลียงข้าวก็จะนำไปจัดเก็บเป็นลอมไว้ในยุ้งฉาง หรือเรือนข้าว สิ้นฤดูเก็บเกี่ยวเรียบร้อยจึงทำขวัญข้าวอีกครั้งหนึ่ง
จะเห็นว่าการทำขวัญข้าวเป็นเรื่องของการสรรเสริญและบูชาพระคุณของแม่โพสพเป็นหลักสำคัญ ซึ่งมีตำนานกล่าวขานไว้มากและมีส่วนเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างใกล้ชิด การประพฤติต่อข้าวไม่ว่าจะเป็นการกินหรือการทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อเมล็ดข้าวหรือรวงข้าวจะต้องขอขมาทุกครั้ง เพราะชาวนาเชื่อว่าแม่โพสพเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะเมื่อข้าวสุกรวง ขวัญของแม่โพสพจะมาสถิตในรวงข้าว ช่วงเวลาดังกล่าวแม้แต่พระอาทิตย์ยังไม้กล้าข้ามหัวแม่โพสพ จึงเป็นที่มาของตะวันอ้อมข้าว
สำหรับในส่วนของจังหวัดพัทลุง ถือเป็นจังหวัดที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำมาแต่โบราณ เนื่องจากอยู่ในเขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว ดังนั้นจังหวัดพัทลุงจึงเป็นพื้นที่ที่มีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เช่น ข้าวเฉี้ยง ข้าวหัวนา ข้าวหนวยเขือ ข้าวเล็บนก ข้าวยาโค ข้าวเบาน้ำค้าง เป็นต้น และที่มีชื่อเสียงที่สุดขณะนี้คือข้าวสังข์หยด เพราะเป็นข้าวที่มีคุณประโยชน์สูงกว่าข้าวทั่วไป มีเส้นใยสูง มีสารอาหารบางชนิดที่บริโภคประจำแล้วจะช่วยชะลอความแก่ ป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้ และเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์พันธุ์แรกของไทย เป็นที่นิยมของผู้บริโภคอย่างมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น