ปิดอ่าว 3 จังหวัด 3 เดือน เพื่ออนุรักษ์สัตว์น้ำ
(13 ก.พ.57) ที่ท่าเทียบเรือเทศบาลปากน้ำชุมพร ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธาน ประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ในฤดูปลามีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน หรือ ปิดอ่าว ประจำปี 2557 โดยมี นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล อธิบดีกรมประมง นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย ผู้บริหารกรมประมง ตัวแทนสมาคมประมง จาก จ. ชุมพร จ.ประจวบคิรีขันธ์ และ จ.สุราษฎร์ธานี ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ ร่วมพิธีหลายพันคน
มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ในฤดูปลามีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน หรือ ปิดอ่าว บังคับใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2496 มีการปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมหลายครั้ง ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน เป็นประกาศ ฉบับ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ระหว่างวันที่ 15 ก.พ.-15 พ.ค. ของทุกปี เป็นระยะเวลาห้ามทำการประมง ด้วยเครื่องมือประมงบางชนิด ในพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร หรือ 16.5 ล้านไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ทะเล บางส่วนของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และ จ.สุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้จากการประเมินผลทางวิชาการ ตามมาตรการปิดอ่าว ในแต่ละปี พบว่าทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาทู ฟื้นฟูได้อย่างเห็นชัดเจน มีปริมาณการจับเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงก่อนปิดอ่าวมากกว่า 2 เท่า สามารถรักษาระดับปริมาณเฉลี่ยได้กว่า 1 แสนตันต่อปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 4,500 ล้านบาท
การประกาศปิดอ่าวจึงเป็นแนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ที่ชาวประมงต้องช่วยกันปฏิบัติตามประกาศอย่างเคร่งครัด
(13 ก.พ.57) ที่ท่าเทียบเรือเทศบาลปากน้ำชุมพร ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธาน ประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ในฤดูปลามีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน หรือ ปิดอ่าว ประจำปี 2557 โดยมี นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล อธิบดีกรมประมง นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย ผู้บริหารกรมประมง ตัวแทนสมาคมประมง จาก จ. ชุมพร จ.ประจวบคิรีขันธ์ และ จ.สุราษฎร์ธานี ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ ร่วมพิธีหลายพันคน
มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ในฤดูปลามีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน หรือ ปิดอ่าว บังคับใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2496 มีการปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมหลายครั้ง ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน เป็นประกาศ ฉบับ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ระหว่างวันที่ 15 ก.พ.-15 พ.ค. ของทุกปี เป็นระยะเวลาห้ามทำการประมง ด้วยเครื่องมือประมงบางชนิด ในพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร หรือ 16.5 ล้านไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ทะเล บางส่วนของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และ จ.สุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้จากการประเมินผลทางวิชาการ ตามมาตรการปิดอ่าว ในแต่ละปี พบว่าทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาทู ฟื้นฟูได้อย่างเห็นชัดเจน มีปริมาณการจับเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงก่อนปิดอ่าวมากกว่า 2 เท่า สามารถรักษาระดับปริมาณเฉลี่ยได้กว่า 1 แสนตันต่อปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 4,500 ล้านบาท
การประกาศปิดอ่าวจึงเป็นแนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ที่ชาวประมงต้องช่วยกันปฏิบัติตามประกาศอย่างเคร่งครัด