นายสมัคร ดอนนาปลี ผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พร้อมด้วย นายจีระศักดิ์ ชูความดี ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5(นครศรีธรรมราช) , ดร.มาโนช วงศ์สุรีย์รัตน์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม นำกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานประมาณ 200 นาย ได้ทำการเข้าถอนต้นยางพารา ปาล์มและอินทผาลัมที่มีการปลูกบุกรุกที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมในพื้นที่อำเภอกันตังจำนวน 5,080 ต้น บนเนื้อที่กว่า 70ไร่ จำนวน 7 จุด ประกอบด้วย บริเวณบ้านไสเตย ม.7 ต.บ่อน้ำร้อน เนื้อที่ประมาณ26 ไร่ ,บ้านไสน้ำเต้า ม.2 ต.บางสัก เนื้อที่ประมาณ 12ไร่,บ้านควนตุ้งกู ม.3 ต.บางสัก เนื้อที่ประมาณ 10ไร่,บ้านคลองไม้แดงเหนือ ม.8 ต.บ่อน้ำร้อน เนื้อที่ประมาณ 8ไร่, บ้านหน้าควน ม.4 ต.บางสัก เนื้อที่ประมาณ 1ไร่, บ้านควนน้ำซับ ม. 5 ต.ไม้ฝาด เนื้อที่ประมาณ 7ไร่ ,บ้านหาดยาว ม.6 เนื้อที่ประมาณ 25ไร่ มูลค่าไร่ละ 150,000 มูลค่ารวมกว่า 10 ล้านบาท นอกจากนี้ได้มีการเข้ารื้อถอนท่อประปาที่มีความยาวประมาณ 800 เมตรบริเวณ ม.5 ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ซึ่งท่อประปาดังกล่าวส่งน้ำใช้อุปโภคบริโภคยังโรงแรมชื่อดังแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภอสิเกา ซึ่งจะทำให้โรงแรมดังกล่าวไม่มีน้ำให้บริการนักท่องเที่ยวที่เข้าไปใช้บริการ
นายสมัคร ดอนนาปลี ผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้กล่าวว่า การเข้ารื้อถอนต้นยางพารา ปาล์ม อินทผาลัม รวมไปถึงท่อประปาในครั้งนี้ก็เนื่องจากได้มีการปลูกและก่อสร้างบุกรุกเข้ามาในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ทางเจ้าหน้าที่จึงจำเป็นต้องได้เข้ากระทำการตามกฎหมายไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งแต่อย่างใดจึงอยากให้ชาวบ้านและผู้ประกอบการเข้าใจ เพราะก่อนหน้านี้ก็ได้มีการแจ้งและพูดคุยกันล่วงหน้า แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับหรือการแก้ไขแต่อย่างใด
วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สถานีพัฒนาที่ดินตรัง เชิญชวนรณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการใช้หญ้าแฝก
นางจิราพรรณ ชัชวาลชัยพรรณ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินตรัง กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาและรณรงค์การใช้ หญ้าแฝก เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและการรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากหญ้าแฝกเป็นพืชมหัศจรรย์ที่มีรากยาวหยั่งลึกแผ่กระจายเสมือนเป็น กำแพงธรรมชาติที่ช่วยป้องกันปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาดำเนินการและถ่ายทอดสู่เกษตรกรอย่างกว้างขวาง
ดังนั้น เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างลาดชัน ได้ใช้ประโยชน์พื้นที่โดยการปลูกยางพารา ซึ่งส่วนใหญ่การใช้ประโยชน์พื้นที่มาแล้วนั้น ปัญหาของพื้นที่เหล่านี้ไม่เพียงแต่เรื่องการชะล้างพังทลายของดินเพียงอย่างเดียว เรื่องของความอุดมสมบูรณ์ของดินก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ต้องดำเนินการแก้ไข ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกร และจากการดำเนินโครงการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อป้องกันการชะล้างการพังทลายของดินนั้น ที่ผ่านมาเห็นผลชัดเจนของพื้นที่ที่มีลักษณะความแตกต่างระหว่างพื้นที่ที่ไม่ได้ปลูกหญ้าแฝกจะมีร่องที่ถูกน้ำกัดเซาะ แต่สำหรับพื้นที่ที่ปลูกหญ้าแฝกจะไม่มีร่องน้ำไม่มีการชะล้างพังทลายของดิน หรืออาจมีบ้างแต่น้อย ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินตรัง ได้กล่าวอีกว่า ด้วยสภาพภูมิอากาศของจังหวัดตรังขณะนี้เป็นช่วงฤดูฝน ซึ่งหญ้าแฝกสามารถช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และหากเป็นหน้าแล้ง หญ้าแฝกก็จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินอีกด้วย หากประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนใจขอรับการสนับสนุนกล้าหญ้าแฝก สามารถติดต่อขอพันธุ์กล้าหญ้าแฝกได้ที่ สถานีพัฒนาที่ดินตรัง เลขที่ 98/1 หมู่ 1 ต.บ้านควน อ.เมืองตรัง หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 075-501059 ในวันเวลาราชการ
ดังนั้น เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างลาดชัน ได้ใช้ประโยชน์พื้นที่โดยการปลูกยางพารา ซึ่งส่วนใหญ่การใช้ประโยชน์พื้นที่มาแล้วนั้น ปัญหาของพื้นที่เหล่านี้ไม่เพียงแต่เรื่องการชะล้างพังทลายของดินเพียงอย่างเดียว เรื่องของความอุดมสมบูรณ์ของดินก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ต้องดำเนินการแก้ไข ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกร และจากการดำเนินโครงการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อป้องกันการชะล้างการพังทลายของดินนั้น ที่ผ่านมาเห็นผลชัดเจนของพื้นที่ที่มีลักษณะความแตกต่างระหว่างพื้นที่ที่ไม่ได้ปลูกหญ้าแฝกจะมีร่องที่ถูกน้ำกัดเซาะ แต่สำหรับพื้นที่ที่ปลูกหญ้าแฝกจะไม่มีร่องน้ำไม่มีการชะล้างพังทลายของดิน หรืออาจมีบ้างแต่น้อย ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินตรัง ได้กล่าวอีกว่า ด้วยสภาพภูมิอากาศของจังหวัดตรังขณะนี้เป็นช่วงฤดูฝน ซึ่งหญ้าแฝกสามารถช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และหากเป็นหน้าแล้ง หญ้าแฝกก็จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินอีกด้วย หากประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนใจขอรับการสนับสนุนกล้าหญ้าแฝก สามารถติดต่อขอพันธุ์กล้าหญ้าแฝกได้ที่ สถานีพัฒนาที่ดินตรัง เลขที่ 98/1 หมู่ 1 ต.บ้านควน อ.เมืองตรัง หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 075-501059 ในวันเวลาราชการ
ศาลจังหวัดตรัง จัดโครงการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท สร้างโอกาสก่อนฟ้อง
นางสาวสุธิรา วิสารทพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ตามแผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ.2557-2560 ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างการอำนวยความยุติธรรมให้มีมาตรฐานระดับสากล เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม และให้ประชาชนเข้าถึงศาลยุติธรรมได้โดยง่าย กลยุทธ์ 1.2 ส่งเสริมและพัฒนาระบบการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่ออำนวยความยุติธรรมทางเลือกแก่ประชาชน และประธานศาลฎีกาได้กำหนดนโยบาย ส่งเสริมการระงับข้อพิพาททางเลือก อันเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีทางเลือกเพื่อระงับหรือยุติข้อพิพาทด้วยความพอใจของทุกฝ่าย พัฒนาระบบและกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยวิธีการไกล่เกลี่ยให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย และสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทางเลือกเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาข้อพิพาท จากสภาพปัญหาของลูกหนี้ธนาคารออมสิน การนำระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาใช้ในการประนีประนอมระหว่างลูกหนี้และธนาคารออมสิน เป็นการบรรเทาและให้ความช่วยเหลือทั้งลูกหนี้และธนาคาร อีกทั้งเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคู่ความโดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ศาลจังหวัดตรังร่วมกับธนาคารออมสินเขตตรัง จึงได้จัดโครงการ "ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท สร้างโอกาสก่อนฟ้อง” เพื่อนำผู้เป็นลูกหนี้ธนาคารเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ยแทนการฟ้องคดีขึ้น โดยได้กำหนดจัดโครงการดังกล่าวในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 09.00 น. ณ บริเวณหน้าอาคารศาลจังหวัดตรัง ถนนพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
นายกเทศมนตรีนครตรัง ติดตามความคืบหน้าในการจัดการบ่อขยะ คาดไม่เกิน 4 เดือนสามารถดำเนินการได้ทั้งหมด
นายอภิชิต วิโนทัย นายกเทศมนตรีนครตรัง นายเกรียงศักดิ์ รัตนสิมานนท์ รองนายกเทศมนตรีนครตรัง พร้อมด้วยประธานสภาเทศบาลนครตรัง สมาชิกสภาเทศบาลนครตรัง ลงพื้นที่บ่อขยะเทศบาลนครตรัง (ทุ่งแจ้ง) เพื่อติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการกำจัดขยะสะสม ซึ่งจากการลงพื้นที่พบว่าบริเวณโรงเรือน เดิมมีขยะกองสูงได้ถูกจัดการให้เป็นพื้นที่โล่ง รถขยะและเครื่องจักรหนัก สามารถเข้าออกได้สะดวก มีการนำรถดูดโคลนมาทำการดูดโคลนในทางระบายน้ำเพื่อให้สามารถระบายน้ำได้อย่างสะดวก อีกทั้งได้ระดมเจ้าหน้าที่ให้ช่วยเก็บกวาดขยะมูลฝอยโดยรอบตัวอาคารโรงเรือน ด้านนายกเทศมนตรีนครตรัง กล่าวว่า หลังจากที่เทศบาลนครตรังได้ทุ่มงบประมาณก้อนใหญ่ในการกำจัดขยะที่สะสมมานานกว่า 5 ปี บัดนี้สามารถดำเนินการแล้วเสร็จไปมากกว่า 10 % ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนเองพอใจมากและเร็วกว่าที่คิด สำหรับตนเองมองว่าถ้าไม่มีอุปสรรคเรื่องสภาพภูมิอากาศฝนไม่ตกลงมาจะสามารถดำเนินการกำจัดขยะสะสมให้เรียบร้อยภายใน 4 เดือน ในการแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นที่เกิดจากก๊าชมีเทนสะสมในกองขยะ ได้สั่งการให้นำน้ำหมักชีวภาพหรือ อีเอ็ม ที่เทศบาลนครตรังมีอยู่มาฉีดอย่างต่อเนื่อง และได้สั่งน้ำหมักชีวภาพ ที่มีคุณภาพในการดับกลิ่นมาเพิ่มเติม เพื่อระดมฉีดดับกลิ่นเหม็นบรรเทาทุกข์ให้พี่น้องประชาชนที่มีบ้านเรือนติดบ่อขยะ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้เตรียมแผนในการรณรงค์คัดแยกขยะในชุมชน ซึ่งจะดำเนินการใน 3 ชุมชนนำร่องที่มีความพร้อม และขยายสู่ทั้ง 70 ชุมชนของเทศบาลนครตรัง รวมถึงในโรงเรียน เพื่อให้ง่ายต่อการกำจัดขยะต่อไปในอนาคต
ขนส่งตรัง เริ่มใช้หลักสูตรการอบรมและทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับรถฉบับเข้มข้น ดีเดย์ 1 มิถุนายนนี้
นายสุภกิจ ชิณณะเสถียร ขนส่งจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน พบว่า สาเหตุสำคัญของอุบติเหตุทางถนน ยังคงเกิดจากการขาดวินัย และสำนึกที่ดีในการขับขี่ รวมถึงการขาดความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน และความรอบรู้ในการขับรถอย่างปลอดภัย ดังนั้นกรมการขนส่งทางบก จึงได้พัฒนาหลักสูตรการอบรมเพื่อขอรับใบอนุญาตขับรถ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการขับขี่ที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตร ให้ครอบคลุมถึงการขับรถอย่างปลอดภัยในสถานการณ์ต่าง ๆ ข้อควรระวัง และจุดบกพร่อง ที่ผู้ขับขี่อาจละเลยหรือมองข้าม พร้อมเพิ่มจำนวนข้อสอบเป็น 50 ข้อ โดยผู้ผ่านการทดสอบภาคทฤษฎี ต้องผ่านเกณฑ์การสอบร้อยละ 90 จากเดิมกำหนดข้อสอบไว้ 30 ข้อ เกณฑ์ผ่านเพียงร้อยละ 75 เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานความรู้ความเข้าใจของผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถ ทั้งนี้ จะนำข้อสอบที่ใช้หมุนเวียนในการทดสอบภาคทฤษฎี จำนวนทั้งหมด 1,000 ข้อ ออกเผยแพร่ทางเว็บไซด์ www.dlt.go.th เพื่อให้ประชาชนและผู้ที่จะเข้าทดสอบได้ศึกษาด้วยตนเอง โดยแนวทางการอบรมและทดสอบด้วยหลักสูตรที่เข้มข้นดังกล่าวจะเริ่มใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายนนี้เป็นต้นไป
ขนส่งจังหวัดตรัง กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีผู้ประสงค์ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับบุคลากรและสถานที่ของสำนักงานขนส่งจังหวัดตรังแล้ว อาจทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร ต้องรอคิวอบรมและทดสอบเป็นเวลานาน ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชน กรมการขนส่งทางบก จึงได้มอบหมายให้สำนักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัดประสานและซักซ้อมความเข้าใจกับสถานการศึกษาภาครัฐที่มีมาตรฐาน และมีความพร้อมภายในจังหวัด เพื่อดำเนินการจัดอบรมภาคทฤษฎีว่าด้วยรถยนต์ (กรณีการขอรับใบอนุญาตขับรถใหม่ และการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ) โดยอาจไม่มีค่าใช้จ่าย หรือหากมี ก็ให้คิดอัตราค่าอบรมได้ไม่เกินอัตราที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ซึ่งในส่วนของสำนักงานขนส่งจังหวัดตรัง ได้ติดต่อประสานกับสถาบันการศึกษาแล้ว จำนวน 6 แห่ง และมีสถาบันการศึกษาตอบรับเพื่อดำเนินการอบรมทฤษฎีภาคแทนกรมการขนส่งทางบกแล้ว จำนวน 2 แห่ง คือ วิทยาลัยสารพัดช่างตรัง และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดตรัง ขณะนี้อยู่ในระหว่างการทำ MOU ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการอบรมจากสถาบันดังกล่าว สามารถนำหลักฐานมาแสดงเพื่อเข้ารับการทดสอบข้อเขียนและทดสอบขับขี่รถกับสำนักงานขนส่งจังหวัดตรังได้ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ผ่านการอบรม
ขนส่งจังหวัดตรัง กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีผู้ประสงค์ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับบุคลากรและสถานที่ของสำนักงานขนส่งจังหวัดตรังแล้ว อาจทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร ต้องรอคิวอบรมและทดสอบเป็นเวลานาน ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชน กรมการขนส่งทางบก จึงได้มอบหมายให้สำนักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัดประสานและซักซ้อมความเข้าใจกับสถานการศึกษาภาครัฐที่มีมาตรฐาน และมีความพร้อมภายในจังหวัด เพื่อดำเนินการจัดอบรมภาคทฤษฎีว่าด้วยรถยนต์ (กรณีการขอรับใบอนุญาตขับรถใหม่ และการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ) โดยอาจไม่มีค่าใช้จ่าย หรือหากมี ก็ให้คิดอัตราค่าอบรมได้ไม่เกินอัตราที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ซึ่งในส่วนของสำนักงานขนส่งจังหวัดตรัง ได้ติดต่อประสานกับสถาบันการศึกษาแล้ว จำนวน 6 แห่ง และมีสถาบันการศึกษาตอบรับเพื่อดำเนินการอบรมทฤษฎีภาคแทนกรมการขนส่งทางบกแล้ว จำนวน 2 แห่ง คือ วิทยาลัยสารพัดช่างตรัง และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดตรัง ขณะนี้อยู่ในระหว่างการทำ MOU ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการอบรมจากสถาบันดังกล่าว สามารถนำหลักฐานมาแสดงเพื่อเข้ารับการทดสอบข้อเขียนและทดสอบขับขี่รถกับสำนักงานขนส่งจังหวัดตรังได้ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ผ่านการอบรม
นายกอบต.สวนหลวง นำทีมผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ จัดกิจกรรมโครงการเข้าวัดพัฒนาคุณธรรม
เมื่อเช้าวันพุธ ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ณ วัดพังยอม หมู่ที่ ๙ ตำบลสวนหลวง นายบุญยืน ประทุมมาศ นายก อบต.สวนหลวง นางสุภาพันธ์ นาคแป้น ปลัด อบต. พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ ร่วมกิจกรรมโครงการเข้าวัดพัฒนาคุณธรรม เพื่อให้คณะผู้บริหาร สมาชิกอบต. และพนักงานได้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชนในการเข้าไปทำบุญในวัดทุกวันพระ เกิดความสงบสุข ความร่มเย็นทั้งในด้านสุขภาพ ด้านจิตใจ และสามารถนำธรรมะที่ได้รับไปใช้และเผยแพร่ให้กับชุมชนตลอดจนลูกหลานของตนให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะทำให้สามารถพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไปอีกทางหนึ่ง กิจกรรมเริ่มตั้งแต่ชาวบ้านในพื้นที่ นำสวดมนต์ไหว้พระทำวัตรเช้า ร่วมถวายภัตตาหารเพล และ จตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนชาวตำบลสวนหลวงเป็นจำนวนมาก
นายพิชัย ชูกลิ่น // ศูนย์ข่าวประชาสัมพันธ์ อบต.สวนหลวง // รายงาน
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมติดตามการเตรียมการรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงงานโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
วันนี้(21 พ.ค.57) ที่ห้องประชุมศูนย์อำนวยการและประสานการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมติดตามการเตรียมการรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงงานโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระหว่างวันที่ 26 – 27 มิถุนายน 2557 โดยมีว่าที่ ร.ต.ฐิตวัฒน เชาวลิต รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายสายเมือง วิรยศิริ ที่ปรึกษาศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระหว่างวันที่ 26 – 27 มิถุนายน 2557 โดยมีการเตรียมพื้นที่เสด็จทรงงานหลัก 3 จุด คือ พื้นที่นาข้าว นากุ้ง และป่าจาก ซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันของราษฎรในพื้นที่นิเวศน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ตามปฏิญญาขนาบนาก ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง พื้นที่ส่งเสริมการผลิตข้าวครบวงจรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังตามแนวพระราชดำริ บ้านอ่าวตะเคียน หมู่ที่ 7 ต.ชะเมา อ.ปากพนัง พื้นที่ป่าพรุเสม็ดขาว หมู่ที่ 11 ต.การะเกด อ.เชียรใหญ่ ซึ่งจากการติดตามการเตรียมการของศูนย์อำนวยการฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องค่อนข้างจะสมบูรณ์แล้วว่าแต่ละจุดจะมีการนำเสนออะไรบ้าง เช่น ปฏิญญาขนาบนาก ก่อนจะมีโครงการพระราชดำริน้ำเค็มรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่น้ำจืด จนทำการเกษตรไม่ได้ พื้นที่ได้รับความเสียหาย แต่หลังจากมีโครงการพระราชดำริ มีประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ ที่ปากพนังแล้วมีการแบ่งพื้นที่น้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำจืดอย่างชัดเจน มีการบริหารจัดการน้ำให้อยู่ร่วมกันได้ จนสามารถประกอบอาชีพได้ และราษฎรไม่มีความขัดแย้งกัน สอดคล้องกับศูนย์ข้าวชุมชนบ้านอ่าวตะเคียน เมื่อก่อนเป็นพื้นที่ที่ปลูกข้าวไม่ได้เนื่องจากน้ำเค็มรุกล้ำไปถึง หรือถ้าปลูกได้ก็ปีละครั้งเดียว ผลผลิตที่ได้น้อย แต่ปัจจุบันประสบความสำเร็จสามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง และเพาะปลูกเป็นเมล็ดพันธุ์ขายได้ราคาดี ส่วนในอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ซึ่งเป็นการสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการให้พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังกลับมาเป็นอู่ข้าวอู่น้ำเหมือนในอดีต
จากนั้นปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรวิสาหกจิชุมชนข้าวซ้อมมือบ้านเพิง หมู่ที่ 4 ต.บ้านเพิง อ.ปากพนัง ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง “ข้าวยาโค” ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพดินเปรี้ยวและน้ำกร่อย ให้ผลผลิตไร่ละ 300-400 กิโลกรัม ซึ่งศูนย์วิจัยข้าวนครศรีธรรมราช ได้เข้าไปส่งเสริมการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์และขยายพื้นที่ปลูกให้มากขึ้น
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระหว่างวันที่ 26 – 27 มิถุนายน 2557 โดยมีการเตรียมพื้นที่เสด็จทรงงานหลัก 3 จุด คือ พื้นที่นาข้าว นากุ้ง และป่าจาก ซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันของราษฎรในพื้นที่นิเวศน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ตามปฏิญญาขนาบนาก ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง พื้นที่ส่งเสริมการผลิตข้าวครบวงจรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังตามแนวพระราชดำริ บ้านอ่าวตะเคียน หมู่ที่ 7 ต.ชะเมา อ.ปากพนัง พื้นที่ป่าพรุเสม็ดขาว หมู่ที่ 11 ต.การะเกด อ.เชียรใหญ่ ซึ่งจากการติดตามการเตรียมการของศูนย์อำนวยการฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องค่อนข้างจะสมบูรณ์แล้วว่าแต่ละจุดจะมีการนำเสนออะไรบ้าง เช่น ปฏิญญาขนาบนาก ก่อนจะมีโครงการพระราชดำริน้ำเค็มรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่น้ำจืด จนทำการเกษตรไม่ได้ พื้นที่ได้รับความเสียหาย แต่หลังจากมีโครงการพระราชดำริ มีประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ ที่ปากพนังแล้วมีการแบ่งพื้นที่น้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำจืดอย่างชัดเจน มีการบริหารจัดการน้ำให้อยู่ร่วมกันได้ จนสามารถประกอบอาชีพได้ และราษฎรไม่มีความขัดแย้งกัน สอดคล้องกับศูนย์ข้าวชุมชนบ้านอ่าวตะเคียน เมื่อก่อนเป็นพื้นที่ที่ปลูกข้าวไม่ได้เนื่องจากน้ำเค็มรุกล้ำไปถึง หรือถ้าปลูกได้ก็ปีละครั้งเดียว ผลผลิตที่ได้น้อย แต่ปัจจุบันประสบความสำเร็จสามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง และเพาะปลูกเป็นเมล็ดพันธุ์ขายได้ราคาดี ส่วนในอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ซึ่งเป็นการสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการให้พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังกลับมาเป็นอู่ข้าวอู่น้ำเหมือนในอดีต
จากนั้นปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรวิสาหกจิชุมชนข้าวซ้อมมือบ้านเพิง หมู่ที่ 4 ต.บ้านเพิง อ.ปากพนัง ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง “ข้าวยาโค” ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพดินเปรี้ยวและน้ำกร่อย ให้ผลผลิตไร่ละ 300-400 กิโลกรัม ซึ่งศูนย์วิจัยข้าวนครศรีธรรมราช ได้เข้าไปส่งเสริมการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์และขยายพื้นที่ปลูกให้มากขึ้น
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจการประกาศใช้กฎอัยการศึก
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจการประกาศใช้กฎอัยการศึก แก่หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในจังหวัด โดยขอให้ปฏิบัติตามคำสั่งและประกาศของกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ กอ.รส.อย่างเคร่งครัด
เมื่อเวลา 15.00 น. วันนี้ (21 พ.ค.57) ที่ห้องประชุมศรีวิชัย ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก แก่หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด ตำรวจภูธร นายอำเภอ หัวหน้าหน่วยงานส่วนกลาง หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และผู้เกี่ยวข้อง โดยมีการอธิบายสร้างความเข้าใจถึงความจำเป็นในการประกาศใช้กฎอัยการศึก รวมทั้งการปฏิบัติตามประกาศ คำสั่งฉบับต่าง ๆ ของ กอ.รส.
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า การประกาศใช้กฎอัยการศึก ไม่ใช่การปฏิวัติ แต่เป็นภาวะความจำเป็นในการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ปลอดภัยแก่บ้านเมือง ส่วนรัฐบาลยังคงบริหารประเทศต่อไปได้ ขณะนี้ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองกำลังร่วมกันหาทางออกของประเทศอยู่ ขอให้ข้าราชการทำงานตามอำนาจหน้าที่ในการดูแลประชาชน และขอให้ปฏิบัติตามคำสั่งของ กอ.รส.อย่างเคร่งครัดด้วย ส่วนการเสนอข่าว การแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อต่าง ๆ ทุกแขนง ทั้งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุชุมชน สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อสังคมออนไลน์ ขอให้ปฏิบัติตามคำสั่งของ กอ.รส. เช่นเดียวกัน โดยขอให้สำนักงาน กสทช. และตำรวจภูธรจังหวัดไปตรวจสอบดูแล
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ กอ.รส.ยังได้ออกคำสั่งฉบับที่ 10 ห้ามข้าราชการ เจ้าหน้าที่พลเรือนและประชาชน พกพาหรือใช้อาวุธสงครามและวัตถุระเบิดโดยเด็ดขาด จึงขอให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดด้วย แต่หากหน่วยงานใดมีความจำเป็นต้องใช้อาวุธสงครามในการปฏิบัติงาน ขอให้ทำหนังสือหารือไปยังแม่ทัพภาคที่ 4 ส่วนการตั้งด่าน จุดสกัดเพื่อตรวจค้นยาเสพติด อาวุธสงคราม และสิ่งผิดกฎหมายต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ให้รายงานแม่ทัพภาคที่ 4 ทราบด้วยเช่นกัน
เมื่อเวลา 15.00 น. วันนี้ (21 พ.ค.57) ที่ห้องประชุมศรีวิชัย ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก แก่หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด ตำรวจภูธร นายอำเภอ หัวหน้าหน่วยงานส่วนกลาง หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และผู้เกี่ยวข้อง โดยมีการอธิบายสร้างความเข้าใจถึงความจำเป็นในการประกาศใช้กฎอัยการศึก รวมทั้งการปฏิบัติตามประกาศ คำสั่งฉบับต่าง ๆ ของ กอ.รส.
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า การประกาศใช้กฎอัยการศึก ไม่ใช่การปฏิวัติ แต่เป็นภาวะความจำเป็นในการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ปลอดภัยแก่บ้านเมือง ส่วนรัฐบาลยังคงบริหารประเทศต่อไปได้ ขณะนี้ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองกำลังร่วมกันหาทางออกของประเทศอยู่ ขอให้ข้าราชการทำงานตามอำนาจหน้าที่ในการดูแลประชาชน และขอให้ปฏิบัติตามคำสั่งของ กอ.รส.อย่างเคร่งครัดด้วย ส่วนการเสนอข่าว การแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อต่าง ๆ ทุกแขนง ทั้งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุชุมชน สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อสังคมออนไลน์ ขอให้ปฏิบัติตามคำสั่งของ กอ.รส. เช่นเดียวกัน โดยขอให้สำนักงาน กสทช. และตำรวจภูธรจังหวัดไปตรวจสอบดูแล
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ กอ.รส.ยังได้ออกคำสั่งฉบับที่ 10 ห้ามข้าราชการ เจ้าหน้าที่พลเรือนและประชาชน พกพาหรือใช้อาวุธสงครามและวัตถุระเบิดโดยเด็ดขาด จึงขอให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดด้วย แต่หากหน่วยงานใดมีความจำเป็นต้องใช้อาวุธสงครามในการปฏิบัติงาน ขอให้ทำหนังสือหารือไปยังแม่ทัพภาคที่ 4 ส่วนการตั้งด่าน จุดสกัดเพื่อตรวจค้นยาเสพติด อาวุธสงคราม และสิ่งผิดกฎหมายต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ให้รายงานแม่ทัพภาคที่ 4 ทราบด้วยเช่นกัน
ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ ตั้งฐานปฏิบัติการฝนหลวงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 57
นายประสพ พรหมมา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ เปิดเผยว่า ปัจจุบันศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งมีฐานปฏิบัติการ 3 แห่ง คือ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.สงขลา ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สามารถเพิ่มปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ต่าง ๆ ได้เป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะฐานปฏิบัติการฝนหลวง จ.สงขลา สามารถบินปฏิบัติการทำฝนหลวงเพิ่มปริมาณน้ำในป่าพรุโต๊ะแดงให้มีระดับสูงขึ้นขึ้น สามารถป้องกันไฟป่าและรักษาระบบนิเวศน์ป่าพรุให้พ้นภาวะวิกฤติได้ ประกอบกับขณะนี้ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างมีปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น ทางศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้จึงได้ย้ายฐานปฏิบัติการฝนหลวงสงขลาไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยตั้งฐานปฏิบัติการ ณ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป เพื่อบินปฏิบัติการทำฝนหลวงในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และพื้นที่ใกล้เคียง เนื่องจากปัจจุบันยังมีปริมาณน้ำฝนที่ยังไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร และน้ำต้นทุนในแหล่งกักเก็บน้ำยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาสภาพอากาศที่แห้งแล้งและร้อนจัด โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง และพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง จึงเป็นเป้าหมายหลักสำคัญในการเพิ่มปริมาณน้ำในป่าพรุให้เพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าและรักษาระบบนิเวศน์ป่าพรุ และป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ กล่าวว่า ฐานปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครศรีธรรมราช มีเครื่องบินแบบกาซ่า จำนวน 2 ลำ สามารถบรรทุกสารเคมีขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงได้ลำละ 1 ตันต่อเที่ยว ซึ่งสภาพอากาศในขณะนี้มีความเหมาะสมในการปฏิบัติการทำฝนหลวง ซึ่งจะเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือนสิงหาคม 2557 แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ด้วยว่ามีมากน้อยเพียงใด
ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ กล่าวว่า ฐานปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครศรีธรรมราช มีเครื่องบินแบบกาซ่า จำนวน 2 ลำ สามารถบรรทุกสารเคมีขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงได้ลำละ 1 ตันต่อเที่ยว ซึ่งสภาพอากาศในขณะนี้มีความเหมาะสมในการปฏิบัติการทำฝนหลวง ซึ่งจะเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือนสิงหาคม 2557 แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ด้วยว่ามีมากน้อยเพียงใด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)