วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

มูลนิธิศูนย์สังคมพัฒนา ภูเก็ต (DISAC) จัดเสวนา ในหัวข้อ “บทบาทของวิทยุชุมชนกับทิศทางการนำเสนอปัญหาแรงงานข้ามชาติในยุคประชาคมอาเซียน”

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 21 เมษายน 2557 ที่ห้องประชุมอาคารศุภนิมิต ภูเก็ต โครงการประสานชาติพันธุอันดามัน (CEIA) และมูลนิธิศูนย์สังคมพัฒนา ภูเก็ต (DISAC) จัดเสวนา ในหัวข้อ “บทบาทของวิทยุชุมชนกับทิศทางการนำเสนอปัญหาแรงงานข้ามชาติในยุคประชาคมอาเซียน” โดยมีนาง เจนจิณน์ เอมะ ผู้จัดการโครงการประสานชาติพันธุ์อันดามัน  นาย สุทธิพงษ์ ลายทิพย์ ผู้ประสานชาติพันธุ์อันดามัน พร้อมด้วย ผู้แทนจากวิทยุชุมชน แรงงานข้ามชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

นาย สุทธิพงษ์ ลายทิพย์ ผู้ประสานชาติพันธุ์อันดามัน เปิดเผยว่า แรงงานข้ามชาติที่เข้ามา โดยเฉพาะแรงงานพม่า ซึ่งเป็นแรงงานหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนแรงงานมากกว่า 3 ล้านคน โดยส่วนใหญ่จะเข้ามาขายแรงงาน ในภาคส่วนธุรกิจต่างๆ เช่น ธุรกิจประมง ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมการเกษตร ธุรกิจภาคบริการ แม่บ้าน แรงงานก่อสร้าง เป็นต้น

ในปี 2558 จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลักสำคัญคือ 1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 2.ประชาคมเศรษฐกิจ และ 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ จำเป็นต้องต้องเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมในเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นในการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและวัฒนธรรม การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าใจต่ออนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญ ประชาชนไทยและอาเซียนจำเป็นต้องได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าทันและเท่าเทียมกัน การเผยแพร่ข้อมูลอย่างเข้าใจและทันสมัย ทันต่อสถานการณ์เพื่อความสงบสุข คุณภาพชีวิต และวิถีชีวิตที่ดีขึ้นตามเป้าหมาย 3 เสาหลัก ของอาเซียน ข้อมูลข่าวสารจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไท

ดังนั้น วิทยุชุมชนมีบทบาทสำคัญ เป็นอย่างมาก ในฐานะสื่อมวลชนท้องถิ่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข่าวสารให้กับประชาชนในพื้นที่ มีความใกล้ชิดกับผู้ฟังในพื้นที่มากที่สุด บทบาทของวิทยุชุมชนจึงมีความสำคัญนำมาซึ่งการปรับเปลี่ยน เข้าใจ เท่าทันสถานการณ์และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขของประชาชนในประเทศอาเซียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น