วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บริติช เคานซิล ประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ร่วมมือกับ ภาครัฐ มหาวิทยาลัย และภาคอุตสาหกรรม จัดเสวนานานาชาติ ขับเคลื่อนการศึกษา ระดับอุดมศึกษา เพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม

การเสวนาดังกล่าวจัดขึ้น  ระหว่างวันที่13 – 14 กุมภาพันธ์ 2557   ที่โรงแรมพูลแมนภูเก็ต อาร์คาเดีย อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ตโดยบริติช เคานซิล ประเทศไทย ร่วมกับโครงการพัฒนาวิจัยและนักวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม หรือ พวอ. ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. จัดการเสวนานานาชาติในหัวข้อ ความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างมหาวิทยาลัย ภาครัฐ  และเอกชน เพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเสวนาการศึกษานานาชาติ ภาคพื้นเอเชียตะวันออก  ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาในระดับอุดมศึกษา   โดยมี ผศ.วุฒิพงศ์  เตชะดำรงสิน  รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เป็นประธานเปิดงาน / นายไมตรี  อินทุสุต  ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต  กล่าวต้อนรับ    พร้อมด้วย นายคริส  กิบสัน  ผู้อำนวยการบริติช เคานซิล ประเทศไทย  ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจาก ประเทศสหราชอาณาจักร และภูมิภาคเอเชีย  เข้าร่วม  จำนวน 100 คน

ซึ่งการเสวนาในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย  ศาสตราจารย์ริชาร์ด  บีส์ ดาวีส์  รองอธิการบดี  มหาวิทยาลัยสวอนซี / นายเทอร์รี่  โพลลาร์ด จาก ISIS  Innovation  มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด / ดร.ยอง เชีย เฮง คณบดีแห่งศูนย์วิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติไต้หวัน  และศาสตราจารย์ ดร.ชัชนาถ  เทพธรานนท์  ที่ปรึกษาอาวุโส โครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.)  สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย

สำหรับวัตถุประสงค์การเสวนาในครั้งนี้มุ่งเน้นการเปิดโอกาสและเพิ่มความท้าทายในการใช้ผลวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชน  สังคม และเศรษฐกิจของประเทศ  โดยใช้วิธีการหาความร่วมมือจากทั้ง 3 ฝ่าย คือ ภาครัฐ  สถาบันการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม ร่วมหาคำตอบว่าจะนำงานวิจัยทางการศึกษาก่อให้เกิดความร่วมมือในภาคอุตสาหกรรม  ผู้ประกอบการ และภาครัฐได้อย่างไร  นอกจากนี้  การเสวนายังตระหนักถึงช่องทางที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะนำเครือข่ายการวิจัย และความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม  มาใช้เพื่อต่อยอดศักยภาพทางการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคมและความเติบโตทางเศรษฐกิจ อีกด้วย

ทั้งนี้  ภายในงาน  มีนักวางแผนนโยบายนักวิชาการ และนักธุรกิจจากทั่วโลก โดยเฉพาะจากเอเชียตะวันออก และสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะร่วมสร้างแม่แบบใหม่สำหรับการพัฒนาการศึกษาของโลก การประชุมเสวนาในครั้งนี้ ถือว่าเป็นเวทีการระดมสมองระดับนานาชาติเพื่อเผชิญความท้าทายและโอกาสในอนาคตของการศึกษาระดับอุดมศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น