จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้บ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อการสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในภาพรวม โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนเป้าหมายอ่อนแอที่ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสงขลา นายอำเภอ ป้องกันจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือร่วมกำหนดมาตรการการเสริมสร้างความปลอดภัยและความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 (เวลา 14.30 น) ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารเอนกประสงค์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) โดยมีพันตำรวจเอกทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. พร้อมด้วยว่าที่ร้อยตรีเลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. นายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายสังคมจิตวิทยา และผู้อำนวยการสำนัก/กอง ศอ.บต. เข้าร่วมประชุม
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นนั้น ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันทำอย่างไรให้ประชาชนมีความปลอดภัย รวมถึงการสร้างหลักประกันและหามาตรการเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น โดยเฉพาะกับผู้บริสุทธิ์และกลุ่มเป้าหมายอ่อนแอ เช่น พระ ครู เด็ก สตรี คนชรา ให้พวกเขามีความปลอดภัย ขณะเดียวกันจะต้องจัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปพูดคุยกับพระเพื่อลดความหวาดระแวง และไม่อยากให้ชาวบ้านเชื่อข่าวลือ และนำข่าวลือเป็นข้อเท็จจริง การจะพิสูจน์ว่าใครกระทำผิดจะต้องมีพยาน หลักฐานให้ชัดเจน ถ้ายังไม่ชัดเจนอย่าเพิ่งสรุปว่าเป็นการกระทำของใคร ควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการตามกฎหมาย อยากให้คนในหมู่บ้านสร้างความเข้มแข็งในแต่ละกลุ่มให้สามารถดูแลตนเองได้ โดยให้อยู่กันอย่างพี่น้องกันเพื่อจะได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทางภาครัฐก็จะต้องทำความเข้าใจกับประชาชน เข้าไปพบปะเยี่ยมเยียน เพื่อช่วยกันบริหารความรู้สึกของชาวบ้าน ที่สำคัญคือ เราจะทำอย่างไรให้ประชาชนรู้สึกอุ่นใจและนึกถึงเจ้าหน้าที่รัฐเป็นอันดับแรก เมื่อมีเรื่องเดือดร้อน ที่สำคัญ หน่วยงานของภาครัฐเองก็ต้องปฏิบัติและดูแลพื้นที่ของตนอย่างเข้าใจและเข้าถึง ด้วยเช่นกัน
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นนั้น ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันทำอย่างไรให้ประชาชนมีความปลอดภัย รวมถึงการสร้างหลักประกันและหามาตรการเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น โดยเฉพาะกับผู้บริสุทธิ์และกลุ่มเป้าหมายอ่อนแอ เช่น พระ ครู เด็ก สตรี คนชรา ให้พวกเขามีความปลอดภัย ขณะเดียวกันจะต้องจัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปพูดคุยกับพระเพื่อลดความหวาดระแวง และไม่อยากให้ชาวบ้านเชื่อข่าวลือ และนำข่าวลือเป็นข้อเท็จจริง การจะพิสูจน์ว่าใครกระทำผิดจะต้องมีพยาน หลักฐานให้ชัดเจน ถ้ายังไม่ชัดเจนอย่าเพิ่งสรุปว่าเป็นการกระทำของใคร ควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการตามกฎหมาย อยากให้คนในหมู่บ้านสร้างความเข้มแข็งในแต่ละกลุ่มให้สามารถดูแลตนเองได้ โดยให้อยู่กันอย่างพี่น้องกันเพื่อจะได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทางภาครัฐก็จะต้องทำความเข้าใจกับประชาชน เข้าไปพบปะเยี่ยมเยียน เพื่อช่วยกันบริหารความรู้สึกของชาวบ้าน ที่สำคัญคือ เราจะทำอย่างไรให้ประชาชนรู้สึกอุ่นใจและนึกถึงเจ้าหน้าที่รัฐเป็นอันดับแรก เมื่อมีเรื่องเดือดร้อน ที่สำคัญ หน่วยงานของภาครัฐเองก็ต้องปฏิบัติและดูแลพื้นที่ของตนอย่างเข้าใจและเข้าถึง ด้วยเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น