วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สสจ.พังงา จัดงานมหกรรม “เมืองพังงาร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมกลูก และกิจกรรมวันพยาบาลสากล ประจำปี ๒๕๕๗” ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ และสอนการตรวจมะเร็งเต้านม

วันนี้ ๘ พ.ค. ๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ร่วมกับโรงพยาบาลจังหวัดพังงา จัดงานมหกรรม "เมืองพังงาร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมกลูก และกิจกรรมวันพยาบาลสากล ประจำปี ๒๕๕๗” โดยให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ตรวจมะเร็งเต้านม และสอนการตรวจมะเร็งเต้านมให้แก่ เจ้าหน้าที่สาธาณสุข พยาบาล และ อสม. ในเขต อ.เมืองพังงา ๒๔๐ คน ณ ห้องประชุมปันหยี อ.เมืองพังงา พร้อมทั้งจัดนิทรรศการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั่วไปฟรี โดยมีนายประดิษฐ์ เจริญงาน นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านส่งเสริมพัฒนา) เป็นประธานตัดริบบิ้นและกล่าวเปิดงานดังกล่าว

มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ๑๐ ลำดับแรกของผู้หญิงไทยที่ป่วยโรคมะเร็ง เป็นมะเร็งเต้านมลำดับที่ ๑ คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๕ และมะเร็งปากมดลูก เป็นลำดับที่ ๒ คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๔๐ สำหรับโรคมะเร็งเต้านมพบว่าเป็นสาเหตุการตายลำดับที่ ๑ ของประเทศ และอัตราแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี มีรายงานพบว่ามะเร็งเต้านมหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก ในขนาดที่มีขนาดเล็กน้อยกว่า ๑ ซม. และยังไม่กระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลือง จะเป็นระยะที่มีผลการรักษาที่ดี ผู้ป่วยจะมีการรอดชีวิตในช่วง ๕ ปี ประมาณร้อยละ ๙๐ ดังนั้นการตรวจคัดกรองโดยการตรวจเต้านมอย่างถูกวิธีและเป็นประจำทุกเดือน สามารถตรวจพบความผิดปกติของเต้านมได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็ง ผู้หญิงไทยจะปลอดภัยจากมะเร็งเต้านมได้

ด้านนายแพทย์วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาลตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองนั้นแนะนำให้ตรวจเดือนละ๑ ครั้งในผู้หญิงทั่วไป หรืออายุตั้งแต่ ๒๐ ปีขึ้นไปก็เริ่มตรวจได้แล้ว โดยควรตรวจหลังหมดประจำเดือนประมาณ ๗-๑๐ วัน ซึ่งเป็นช่วงที่เต้านมนุ่มสุดและควรตรวจระหว่างอาบน้ำกำลังดี เริ่มแรกให้ดูจากลักษณะรูปทรงเต้านมของตัวเองหน้าที่กระจกก่อน ส่วนการตรวจเบื้องต้นให้ใช้บริเวณปลายนิ้วมือคลำบริเวณเต้านมให้ทั่ว ในรูปแบบก้นหอยโดยคลำจากบริเวณด้านนอกเข้าในหรือจากด้านในออกนอกก็ได้ หลังจากนั้นให้มาตรวจบริเวณหัวนมและลานหัวนมเพื่อที่จะดูว่ามีความผิดปกติอะไรบ้าง โดยวิธีกดบีบตรงที่ลานหัวนมเบาๆ และแนะนำให้ตรวจที่บริเวณรักแร้ด้วย ที่ต้องตรวจบริเวณรักแร้เพราะรักแร้จะมีต่อมน้ำเหลือง ถ้าเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งก็จะมีการกระจายมาที่ต่อมน้ำเหลืองได้ อย่างไรก็ดีถ้าเกิดอาการผิดปกติในร่างกายขึ้น ก็ขอให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอีกที เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น