อุทยานห่งชาติสิรินาถยังเดินหน้าทวงคืนผืนป่าล่าสุดเตรียมนำพื้นที่ที่ถูกบุกรุก 3-4 ร้อยไร่มาปลูกป่าทดแทนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ฯ ขณะการรือร้านค้าหน้าชายหาดที่รุกเขตอุทยานคืบหน้ากว่า 99 เปอร์เซ็นแล้วยังเหลือรายใหญ่ๆอีก 2-3 เจ้าที่จะรื้อถอนในวันที่ 18 ส.ค.นี้.
ความคืบหน้าการทวงคืนผืนป่าที่นายทุนมีการบุกรุกในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถเจ้าหน้าที่ยังคงดำเนินการเดินหน้ากระทำต่อไปเพื่อให้ได้พื้นที่ของรัฐกลับคืนมาเป็นของประชาชนโยผืนป่าทั้งหมดที่ถูกบุกรุกมีประมาณ 379แปลง 2,743 ไร่ รวมมูลค่ามากกว่า 5 หมื่นล้านบาท นายกิติพัฒน์ ธาราภิบาล หัวหน้าอุทยานฯ สิรินาถเปิดกับผู้สื่อข่าวว่า ทางอุทยานยังดำเนินการทวงคืนผืนป่าอย่างต่อเนื่องโดยในวันนี้( 7 ส.ค.57)ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกเป็น 2 ชุด เข้าไปดูพื้นที่ประมาณ 3-4 ร้อยไร่ที่มีการบุกรุกซึ่งอยู่ในเขตอุทยานเพื่อนำไปปลูกป่าพื้นฟูธรรมชาติให้กลับมาเป็นดังเดิมโดยจะทำการปลูกพันธ์ไม้พื้นที่ดังกล่าวในวันที่ 18 สิงหาคมนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ฯ ส่วนเจ้าหน้าที่อีก 1 ชุดจะลงพื้นที่พบปะกับกลุ่มชาวบ้านที่ยังลังเลว่าจะคืนพื้นที่คืนให้กับอุทยานฯเพื่อทำความเข้าใจและชี้แจงที่มาที่ไปของพื้นที่ดังกล่าวว่าเป็นพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติที่ต้องนำมาเป็นสมบัติแผ่นดินหากผู้ครองครองรายใดยังไม่ยินยอมคืนพื้นที่หลังวันที่ 18 สิงหาคมนี้ก็จะมีการแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
สำหรับการคืนพื้นที่โดยสมัครใจนั้นปรากฏว่าขณะมี้มีการคืนแล้ว 7 รายเป็นพื้นที่กว่า 80 ไร่ส่วนที่เหลือก็จะเร่งทำความเข้าใจขอคืนพื้นที่ในวันนี้ไปจนถึงวันที่ 18 สิงหาคมนี้ ส่วนที่ดินแปลงอื่นที่เป็นของนายทุนทางอุทยานก็จะเดินหน้าฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อนำผืนป่าทั้งหมดกลับคืนมาให้ได้ต่อไป อย่างไรก็ตามในส่วนของการรื้อร้านอาหารที่ก่อสร้างรุกล้ำชายหาดในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถนั้น นายกิตติพัฒน์เปิดเผยว่าขณะนี้ดำเนินการรื้อไปแล้วกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ ขณะนี้ยังเหลือเพียง 2-3 รายที่เป็นรายใหญ่ตั้งอยู่บริเวณหาดในยางซึ่งจะนำกำลังเข้ารื้อถอนในวันที่ 18 สิงหาคมนี้หลังจากที่มีการปลูกป่าเสร็จสิ้น
นอกจากนี้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินาถยังฝากประชาสัมพันธ์ถึงกลุ่มนายทุนหรือผู้ที่จะเข้าไปซื้อที่ดินในเขตพื้นที่คาดว่าอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถถึงแม้ว่าจะมีโฉนดถูกต้องตามกฏหมายก็ขอให้ชลอการชื้อไว้ก่อนเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลังหากสิ้นสุดกระบวนการตรวจสอบแล้วเนื้อที่ดังกล่าวก็อาจจะถูกยึดกลับเป็นของแผ่นดินทันที หรือหากจำเป็นต้องมีการซื้อขายจริงๆก็ให้ระบุในสัญญาว่าซื้อ-ขายระหว่างการตรวจสอบการของเอกสารสิทธิ์ของเจ้าหน้าที่อุทยานฯและกรมที่ดินเพื่อที่จะได้เอาผิดกับผู้ขายหากพื้นที่แปลงนั้น ๆ ถูกยึดคืนภายหลัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น