เมื่อวานนี้ (6 พ.ค.57) ที่ห้องบีชเลาท์ โรงแรมบีพี สมิหลาบีช อ.เมือง จ.สงขลา หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในจังหวัดสงขลา จัดแถลงข่าว งานเตรียมความพร้อมเกษตรกรไทยเริ่มต้นฤดูกาลผลิตของจังหวัดสงขลา เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการให้บริการและ สนับสนุนการผลิตทางการเกษตรในฤดูกาลผลิต (2557 - 2558) โดยถือวันพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของทุกปีเป็นวันเริ่มต้นฤดู กาลผลิต ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 9 พฤษภาคม 2557 ซึ่งการแถลงข่าวในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 ประกอบด้วย นายพิรสิญจ์ พันธุ์เพ็ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานแถลงข่าว พร้อมด้วย เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ผอ.โครงการชลประทานสงขลา ผอ.พัฒนาที่ดิน และชุดที่ 2 เกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด ประมงจังหวัด ผอ.สนง.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสงขลา เขต 1 และ สหกรณ์จังหวัด
นายพิรสิญจ์ พันธุ์เพ็ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ตามนโยบายรัฐบาลต้องการลดปัญหาการผลิตสินค้าเกษตรล้นตลาดและการใช้พื้นที่ ผิดประเภท เช่น เอาที่ลุ่มไปปลูกยางพารา ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รายได้ต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มีโครงการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจสำหรับสินค้า เกษตรที่สำคัญ (Zoning) เพื่อให้สินค้าที่มีความสำคัญมีการผลิตมนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในปริมาณที่สอดคล้องกับความต้องการ โดยเกษตรต้องอาศัยข้อมูล เทคโนโลยี และองค์ความรู้ ซึ่งภาคส่วนราชการต้องคิดว่าจะทำอย่างไรที่เกษตรกรจะเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ได้สะดวกและไม่ยุ่งยาก
จังหวัดสงขลา มีสินค้าเกษตรที่สำคัญ คือ ด้านพืช คือ ข้าว ยางพารา และไม้ผล ด้านประมง คือ ปลานิลและกุ้งทะเล และ ด้านปศุสัตว์ คือ เนื้อโคเนื้อ สุกร และไก่เนื้อ ซึ่งจังหวัดได้ขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรม โดยผลักดันเข้าแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยเฉพาะเรื่องข้าวและยางพารา ในปี 2557
สำหรับวันนี้ เป็นอีกเรื่องที่จะประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้รับทราบถึงความพร้อมของหน่วยงานที่ จะเป็นแหล่งข้อมูล เทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกษตรกรจะสามารถเข้าถึงและรับบริการ ตั้งแต่เรื่อง ระบบการบริหารจัดการน้ำสำหรับฤดูผลิตนี้ โดยเฉพาะน้ำเพื่อการปลูกข้าว , เรื่องดิน ,การผลิตเรื่องข้าวให้มีความสอดคล้องกับความต้องการในฤดูกาลนี้ , การเตรียมการปริมาณผลผลิตไม้ผลที่จะออกสู่ตลาดในฤดูกาลนี้ ,การดูแลบำรุงรักษายางพาราโดยการลดต้นทุน , เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการเลี้ยงปลากะพงขาวในพื้นที่หนาแน่สูง ,การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคตายด่วนในกุ้งทะเล , การกระจายแพะพันธ์ดีด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ การผลิตโคเนื้อของจังหวัดสงขลา และการสร้างเครือข่ายการตลอดสินค้า เครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตสินค้าคุณภาพโดยสหกรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น