วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

งานสืบสานศิลป์ถิ่นโนรา หรืองานโนราโรงครูท่าแค ประจำปี ๒๕๕๗ ของจังหวัดพัทลุงเริ่มแล้วพบว่ามีผู้สนใจร่วมกิจกรรมจำนวนมาก ที่วัดท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง ค่ำวันที่ (๗ พ.ค.๕๗) นายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานเปิดงานสืบสาน

ที่วัดท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง ค่ำวันที่ (๗ พ.ค.๕๗) นายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานเปิดงานสืบสานศิลป์ถิ่นโนรา หรืองาน โนราโรงครู ท่าแค ประจำปี ๒๕๕๗ซึ่งกำหนดจัดให้มีขึ้น ณ วัดท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง ระหว่างวันที่ ๗ –๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานพิธีกรรมไหว้ครูโนรา พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวพัทลุง โดยเฉพาะผู้มีเชื้อสายศิลปินมโนรา ศิลปะการแสดงท้องถิ่นภาคใต้ซึ่งเชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดที่จังหวัดพัทลุง

พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดพัทลุงเชื่องโยงสูอาเซียน ซึ่งการจัดงานโนราโรงครูปีนี้ มีกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นเพื่อการต่อยอดให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของ มโนรา คือการจัดเสวนาทางวิชาการ ในหัวข้อ "สืบทอดสิ่งที่ดีงามโนราท่าแค เพื่ออนาคตลูกหลานคนเมืองลุง” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม เช่น ดร สืบพงษ์ ธรรมชาติ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาจารย์จิต แก้วทิพย์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง หนังณรงค์ ตะลุงบัณฑิต เป็นต้น สำหรับกิจกรรมในพิธีเปิดงานซึ่งมีขึ้นในช่วง ๑๙.๐๐ น.วานนี้ มีการแสดงแสงสีเสียงเรื่อง "ตามรอยโนรา” ซึ่งทำให้ได้ทราบว่าโนรามีถิ่นกำเนิดที่จังหวัดพัทลุง และมีความเกี่ยวข้องระหว่างลัทธิความเชื่อท้องถิ่น กับพระพุทธศาสนา และ ศาสนาพราหมณ์ ที่กล่อมเกลาวัฒนธรรมทางสังคมให้ชาวพัทลุงยึดมั่นอยู่ในความดี ความกตัญญู และความกล้าหารมาอย่างต่อเรื่อง

นอกจากนี้พิธีเปิดยังมีการแสดงการแสดงรำมโนราห์ พิธีเชิญครูโนรา โดยมโนราสมพงษ์น้อยดาวรุ่ง หรือ นายสมพงษ์ ชนะบาล เป็นโนราใหญ่เจ้าพิธี ซึ่งในการนี้นายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงได้เข้ารับการครอบเทริดเสริมมงคลในพิธีครั้งนี้ด้วย สำหรับกิจกรรมอื่น ๆ ในงานระหว่างวันที่ ๘ – ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗ จะเป็นพิธีรำแก้บน สะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา รักษาโรค เหยียบเสน เป็นต้น ซึ่งบุคคลทั่วไป หากต้องการครอบเทริด เพื่อเสริมดวงชะตา ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ส่วนพี่น้องประชาชน ที่จะไปแก้บน หรือต้องการไปเหยียบเสน ขอให้ไปร่วมพิธีในวันที่ ๘ พฤษภาคม ได้ตลอดทั้งวัน แต่หากไม่สามารถไปร่วมในวันดังกล่าวได้ ขอให้ไปร่วมพิธีในช่วงเช้าของวันที่ ๙ พฤษภาคม ได้

โนรา หรือ มโนราห์ เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ มี ๒ ลักษณะ คือ มโนราที่มีการแสดงเพื่อความบันเทิงทั่วไป กับอีกลักษณะคือมโนราโรงครู เป็นการแสดงเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์ที่เรียกว่าครูหมอโนรา ซึ่งเป็นบรรพบุรุษผู้สืบสายเลือดการแสดงที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับวัฒนธรรมของชาวภาคใต้ คือการยึดมั่นในความดีและความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ โดยความเชื่อว่าลูกหลานมโนราที่มีการบูชาครูอย่างถูกต้อง จะทำให้ชีวิตมีความรุ่งเรือง แต่หากทำผิดหรือไม่บูชาครู จะทำให้ชีวิตอับจน มีความเจ็บป่วยเป็นต้น ดังนั้นเมื่อขึ้นเดือน ๖ ในช่วงเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม ของทุกปี คณะมโนราและลูกหลานเชื้อสายมโนรา จะจัดกิจกรรม " โนราโรงครู ”ขึ้นเพื่อแสดงถึงความกตัญญูต่อครูหมอโนรา และบรรพบุรุษ ซึ่งในจังหวัดพัทลุง มีมโนราที่ได้รับความนิยมจากผู้ชมอยู่จำนวนมากหลายคณะ ที่มีช่อเสียงชั้นบรมครู เช่น มโนราพุ่มเทวา หรือ ขุนอุปถัมภ์นรากร มโนรายก ชูบัว ศิลปินแห่งชาติสาขาการแสดงมโนรา เป็นต้น



สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพัทลุง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น