อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่นครศรีธรรมราช ติดตามความก้าวหน้าการขุดเจาะน้ำบาดาลแก้วิกฤติภัยแล้ง เพื่อช่วยเหลือภาคการเกษตร
วันนี้ (24 ก.พ.57) นายสุพจน์ เจิมสวัสดิ์พงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พร้อมด้วยนายทนงศักดิ์ ล้อชูสกุล ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 ตรัง ได้ลงพื้นที่บ้านแสงวิมาน หมู่ที่ 13 ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เพื่อติดตามความก้าวหน้าการขุดเจาะน้ำบาดาลแก้วิกฤติภัยแล้ง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้จัดสรรงบประมาณในการขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรที่ขาดแคลนน้ำแบบเร่งด่วน โดยมีนายจรัส มาสทอง นายก อบต.คลองน้อย และตัวแทนชาวบ้านแสงวิมาน ร่วมให้การต้อนรับ
นายสุพจน์ เจิมสวัสดิ์พงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวว่า บ้านแสงวิมานถือเป็นพื้นที่ที่ปลูกส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม ที่มีรสชาติอร่อยที่สุดในประเทศ แต่มักปัญหาภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรได้ได้รับความเสียหาย ดังนั้นในปีงบประมาณ 2557 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจึงได้จัดสรรงบประมาณให้ขุดเจาะน้ำบาดาลแบบเร่งด่วน จำนวน 1 บ่อ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในเบื้องต้น ขณะนี้การขุดเจาะที่ความลึกประมาณ 180 เมตร คาดว่าอีกประมาณ 2 วันจะสามารถฝังท่อและติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำด้วยระบบไฟฟ้าให้เกษตรกรสูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ ซึ่งถือเป็นโครงการนำร่องแห่งแรกของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยในปี 2558 จะมีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้อีก 2 บ่อ เป็นบ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรเชิงระบบ คือสูบน้ำจากบ่อขึ้นถังเก็บแล้วส่งจ่ายน้ำผ่านระบบท่อ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ครอบคลุมประมาณ 200 ไร่
อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวด้วยว่า ในปีงบประมาณ 2557 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีโครงการน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรทั่วประเทศ ในช่วงฤดูแล้ง จำนวน 523 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรเชิงระบบ จำนวน 40 แห่ง รูปแบบที่ 2 น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรที่ขาดแคลนน้ำแบบเร่งด่วน จำนวน 1,245 แห่ง
นายทนงศักดิ์ ล้อชูสกุล ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 ตรัง กล่าวว่า โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ของ 8 จังหวัดภาคใต้ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 ตรัง คือ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี รวม 80 โครงการ ซึ่งบ่อบาดาลที่เจาะแล้วทางกรมฯจะถ่ายโอนให้กับท้องถิ่นบริหารจัดการ แต่ยังคงเข้ามาให้คำปรึกษาต่อไป
นายจรัส มาสทอง นายก อบต.คลองน้อย กล่าวว่า พื้นที่บ้านแสงวิมาน เป็นพื้นที่ปลายน้ำที่ผ่านมาการส่งน้ำของชลประทานจะไปไม่ถึง การที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้มาขุดบ่อบาดาลให้จะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
นายนิกร ซอแก้ว ตัวแทนชาวบ้านแสงวิมาน กล่าวว่า เดิมชาวบ้านแสงวิมานปลูกส้ม แต่ประสบปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำ ไม่ประสบความสำเร็จ จึงได้มีการขุดคันกั้นน้ำเค็มแล้วมาปลูกส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามจึงประสบความสำเร็จ แต่มาประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายเนื่องจากพื้นที่อยู่ปลายน้ำ การส่งน้ำของชลประทานไม่เพียงพอ มีปัญหาการแย่งชิงน้ำกับพี่น้องชาวนา ปัจจุบันบันแสงวิมานมีพื้นที่ปลูกส้มโอประมาณ 250 ไร่ ให้ผลผลิตแล้วประมาณ 60 ไร่ เชื่อมั่นว่าเมื่อกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้มาเจาะบ่อบาดาลให้แล้วทางคณะกรรมการเกษตรกรจะได้จัดสรรน้ำให้แก่เกษตรกรยังเป็นธรรมต่อไป ลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรลงได้
วันนี้ (24 ก.พ.57) นายสุพจน์ เจิมสวัสดิ์พงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พร้อมด้วยนายทนงศักดิ์ ล้อชูสกุล ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 ตรัง ได้ลงพื้นที่บ้านแสงวิมาน หมู่ที่ 13 ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เพื่อติดตามความก้าวหน้าการขุดเจาะน้ำบาดาลแก้วิกฤติภัยแล้ง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้จัดสรรงบประมาณในการขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรที่ขาดแคลนน้ำแบบเร่งด่วน โดยมีนายจรัส มาสทอง นายก อบต.คลองน้อย และตัวแทนชาวบ้านแสงวิมาน ร่วมให้การต้อนรับ
นายสุพจน์ เจิมสวัสดิ์พงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวว่า บ้านแสงวิมานถือเป็นพื้นที่ที่ปลูกส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม ที่มีรสชาติอร่อยที่สุดในประเทศ แต่มักปัญหาภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรได้ได้รับความเสียหาย ดังนั้นในปีงบประมาณ 2557 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจึงได้จัดสรรงบประมาณให้ขุดเจาะน้ำบาดาลแบบเร่งด่วน จำนวน 1 บ่อ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในเบื้องต้น ขณะนี้การขุดเจาะที่ความลึกประมาณ 180 เมตร คาดว่าอีกประมาณ 2 วันจะสามารถฝังท่อและติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำด้วยระบบไฟฟ้าให้เกษตรกรสูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ ซึ่งถือเป็นโครงการนำร่องแห่งแรกของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยในปี 2558 จะมีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้อีก 2 บ่อ เป็นบ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรเชิงระบบ คือสูบน้ำจากบ่อขึ้นถังเก็บแล้วส่งจ่ายน้ำผ่านระบบท่อ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ครอบคลุมประมาณ 200 ไร่
อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวด้วยว่า ในปีงบประมาณ 2557 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีโครงการน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรทั่วประเทศ ในช่วงฤดูแล้ง จำนวน 523 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรเชิงระบบ จำนวน 40 แห่ง รูปแบบที่ 2 น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรที่ขาดแคลนน้ำแบบเร่งด่วน จำนวน 1,245 แห่ง
นายทนงศักดิ์ ล้อชูสกุล ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 ตรัง กล่าวว่า โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ของ 8 จังหวัดภาคใต้ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 ตรัง คือ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี รวม 80 โครงการ ซึ่งบ่อบาดาลที่เจาะแล้วทางกรมฯจะถ่ายโอนให้กับท้องถิ่นบริหารจัดการ แต่ยังคงเข้ามาให้คำปรึกษาต่อไป
นายจรัส มาสทอง นายก อบต.คลองน้อย กล่าวว่า พื้นที่บ้านแสงวิมาน เป็นพื้นที่ปลายน้ำที่ผ่านมาการส่งน้ำของชลประทานจะไปไม่ถึง การที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้มาขุดบ่อบาดาลให้จะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
นายนิกร ซอแก้ว ตัวแทนชาวบ้านแสงวิมาน กล่าวว่า เดิมชาวบ้านแสงวิมานปลูกส้ม แต่ประสบปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำ ไม่ประสบความสำเร็จ จึงได้มีการขุดคันกั้นน้ำเค็มแล้วมาปลูกส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามจึงประสบความสำเร็จ แต่มาประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายเนื่องจากพื้นที่อยู่ปลายน้ำ การส่งน้ำของชลประทานไม่เพียงพอ มีปัญหาการแย่งชิงน้ำกับพี่น้องชาวนา ปัจจุบันบันแสงวิมานมีพื้นที่ปลูกส้มโอประมาณ 250 ไร่ ให้ผลผลิตแล้วประมาณ 60 ไร่ เชื่อมั่นว่าเมื่อกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้มาเจาะบ่อบาดาลให้แล้วทางคณะกรรมการเกษตรกรจะได้จัดสรรน้ำให้แก่เกษตรกรยังเป็นธรรมต่อไป ลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรลงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น