เมื่อวันที่ 28 เม.ย.57 นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ลงพื้นที่ตำบลป่าคลอกเพื่อตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้ง ที่ฟาร์มสาธิต หมู่ที่ 2 บ้านบางแป ต.ป่าคลอก อ.ถลางและศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต อ.ถลาง เพื่อติดตามความคืบหน้าของการพัฒนากุ้งในจังหวัดภูเก็ต ตามยุทธศาสตร์การเกษตรของจังหวัดภูเก็ต โดยมีนายธวัช ศรีวีระชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต พร้อมด้วย นายเกียรติคุณ เจริญสวรรค์ ประมงจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม โดยมีชมรมผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งจังหวัดภูเก็ตให้การต้อนรับ
นายไมตรี อินทุสุต กล่าวถึงการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งในครั้งนี้ ว่า กุ้งนั้นถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ฝั่งอันดามันทั้ง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง และสตูล โดยในแต่ละปีสามารถผลิตกุ้งได้ถึงปีละกว่า 1 แสนตัน เป็นผลผลิตรวมถึงครึ่งหนึ่งของประเทศซึ่งเป็นจีดีพีเศรษฐกิจทางประมงของจังหวัดภูเก็ต ถึงร้อยละ 4 และเกษตรอื่น ๆ ร้อยละ 3 เนื่องจากกุ้งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีราคาสูงมาก
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปี 2556 เป็นต้นมา ความต้องการบริโภคกุ้งมีจำนวนลดลง เนื่องจากประเทศไทยและอาเซียนประสบปัญหาจากโรคตายด่วน หรือ อีเอ็มเอส ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาทางด้านการผลิต จากเดิมที่สามารถผลิตกุ้งได้วันละ 5,000 กิโลกรัม เหลือเพียง 2,000 กิโลกรัมต่อวัน และในปัจจุบันเหลือเพียง 500 กิโลกรัมต่อวันเท่านั้น ลดลงถึงร้อยละ 60 - 70 โดยสภาวการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศ
ดังนั้นในวันนี้ถือโอกาสมาดูความคืบหน้าของการพัฒนากุ้งในจังหวัดภูเก็ต ได้รับรายงานว่า จากผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ทางภูเก็ตมีชมรมผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทั้งสิ้นจำนวน 55 ราย โดยเพาะเลี้ยงกุ้งจำนวน 77 บ่อ โดย ร้อยละ 60 จะอยู่ในพื้นที่ตำบลป่าคลอก สำหรับการแก้ปัญหาในเรื่องของโรค EMS นั้น ทางเกษตรกร มีการเพาะจุลินทรีย์ และนำมาขยาย เห็นว่าเป็นวิธีการที่ถูกต้องและเป็นการรักษาคุณภาพน้ำด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันความเสียหาย มีการแจ้งเตือนภัยผ่านระบบโซเซียนเมิร์ส สำหรับเพื่อร่วมภาคีเพาะเลี้ยงกุ้งด้วย
นอกจากนั้น การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตและคณะ ได้ตรวจเยี่ยมบริเวณแปลงเพาะพันธ์สาหร่ายพวงองุ่นหรือ สาหร่ายเม็ดพริก ที่บริเวณศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต อีกด้วย ทั้งนี้จังหวัดภูเก็ตพร้อมจะสนับสนุนงบประมาณ และส่งเสริมให้ทางศูนย์ ฯ ขยายพันธุ์สาหร่ายดังกล่าว และส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยงในฟาร์มกุ้ง เพื่อเป็นทางเลี้ยงใหม่สำหรับเกษตรกร ในการเสริมการเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยสามารถเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น