จังหวัดสุราษฎร์ธานีจัด สัมมนา ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหมู่ 5 ต.ท่าชนะ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฏร์ธานี
ดร.กฤษณัส สุรกิตย์ ผู้เชี่ยวชาญแหล่งน้ำด้านการมีส่วนร่วม ม.เกษตรศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาของกรมเจ้าท่า ในโครงการ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหมู่ 5 ต.ท่าชนะ จ.สุราษฏร์ธานี กล่าวตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชนะ อ.ท่าชนะ ได้มีหนังสือขอนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานโครงการก่อสร้าง แนวกันคลื่นป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งเพื่อช่วยเหลือราษฎร ม. 5 ต.ท่าชนะ ซึ่งประสบความเดือดร้อนจากปัญหา การกัดเซาะชายฝั่ง สำนักราชเลขาธิการได้ประสานมายังสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. จากนั้น กปร. ได้ประสานงานขอความอนุเคราะห์ต่อกรมเจ้าท่า ผู้เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ ให้การข้อเท็จจริง ข้อเสนอแนะวิธีการแก้ไข
ดร.กฤษณัส ได้กล่าวถึงขึ้นตอนการดำเนินการจากการสำรวจรวจเบื้องต้น พื้นที่ดังกล่าวเป็นร่องน้ำที่สำคัญมีท่าเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ และเรือประมงได้ใช้หลบคลื่นลม ปัจจุบันชายฝั่งประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างต่อเนื่อง บ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างริมชายฝั่งได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยที่ชายหาดได้ถดถอยและหายไปกว่า 20 เมตร แล้ว
ดร.กฤษณัส สุรกิตย์ ผู้เชี่ยวชาญแหล่งน้ำด้านการมีส่วนร่วม ม.เกษตรศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาของกรมเจ้าท่า ในโครงการ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหมู่ 5 ต.ท่าชนะ จ.สุราษฏร์ธานี กล่าวตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชนะ อ.ท่าชนะ ได้มีหนังสือขอนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานโครงการก่อสร้าง แนวกันคลื่นป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งเพื่อช่วยเหลือราษฎร ม. 5 ต.ท่าชนะ ซึ่งประสบความเดือดร้อนจากปัญหา การกัดเซาะชายฝั่ง สำนักราชเลขาธิการได้ประสานมายังสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. จากนั้น กปร. ได้ประสานงานขอความอนุเคราะห์ต่อกรมเจ้าท่า ผู้เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ ให้การข้อเท็จจริง ข้อเสนอแนะวิธีการแก้ไข
ดร.กฤษณัส ได้กล่าวถึงขึ้นตอนการดำเนินการจากการสำรวจรวจเบื้องต้น พื้นที่ดังกล่าวเป็นร่องน้ำที่สำคัญมีท่าเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ และเรือประมงได้ใช้หลบคลื่นลม ปัจจุบันชายฝั่งประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างต่อเนื่อง บ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างริมชายฝั่งได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยที่ชายหาดได้ถดถอยและหายไปกว่า 20 เมตร แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น