ทหาร ฝ่ายปกครอง และท้องถิ่น บินสำรวจพื้นที่อำเภอสิชลและใกล้เคียง เพื่อสำรวจปริมาณน้ำ สภาพป่า เตรียมรับมือภัยแล้ง ขณะที่พื้นที่ป่าพบมีการบุกรุกเพิ่มขึ้น
พ.ต.ประเสริฐ สายทองแท้ ผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยค่ายฝึกการรบพิเศษสิชล กองทัพภาคที่ 4 ร่วมกับ นายพิทักษ์ บริพิศ นายอำเภอสิชล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทพราช ตำบลเขาน้อย ตำบลฉลอง และสื่อมวลชน ร่วมกันบินสำรวจลาดตระเวนทางอากาศเพื่อตรวจสอบแม่น้ำสายหลังทั้ง 5 สาย ในพื้นที่อำเภอสิชล เพื่อเป็นข้อมูลเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดภัยแล้ง ทั้งนี้เนื่องจาก อ.สิชล เป็นพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัย เกิดดินถล่มเมื่อปี 2554 ทำให้สภาพป่าต้นน้ำลำคลองสายต่าง ๆ ได้รับผลกระทบ ลำคลองมีสภาพตื้นเขิน เส้นทางการเดินของน้ำเปลี่ยนแปลง ประกอบกับในระยะนี้ได้เกิดฝนทิ้งช่วงมามากกว่า 1 เดือน หากไม่เตรียมพร้อมในการรับมือกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น จะทำให้ประชาชน เกษตรกร ในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน ทั้งจากภัยแล้งยามฝนทิ้งช่วง และดินถล่มเมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าฝน
ดังนั้น จึงได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลมาบูรณาการร่วมกัน จัดทำแผนแก้ไขปัญหาระยะสั้นและระยะยาว ทั้งการสำรวจ ขุดลอกคลอง แหล่งน้ำ ให้สามารถเก็บกักน้ำได้ สร้างฝายชะลอน้ำ เป็นช่วง ๆ รณรงค์ปลูกป่าต้นน้ำ และ สำรวจ ก่อสร้างหินทิ้ง เป็นรูปตัวที ที่หาดปากดวด หาดเสาเภา หาดปลายทอน หาดสวนสนและ หาดทุ่งใส ที่มีปัญหาคลื่นกัดเซาะ เพื่อให้เกิดเนินทรายมากขึ้น ขุดลอกร่องน้ำสิชล – คลองสิชล ที่มีตะกอนทรายเข้ามาทับถม ให้เรือประมงเข้าออกได้ รวมทั้งการตรวจสอบ เฝ้าระวังไม่ให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่า ส่วนที่บุกรุกแล้วจะได้มีการติดตามจับกุมมาดำเนินคดี ทั้งนี้เพื่อ รักษาสภาพแวดล้อมที่สมดุล และ ป้องกันภัยธรรมชาติ
พ.ต.ประเสริฐ สายทองแท้ ผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยค่ายฝึกการรบพิเศษสิชล กองทัพภาคที่ 4 ร่วมกับ นายพิทักษ์ บริพิศ นายอำเภอสิชล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทพราช ตำบลเขาน้อย ตำบลฉลอง และสื่อมวลชน ร่วมกันบินสำรวจลาดตระเวนทางอากาศเพื่อตรวจสอบแม่น้ำสายหลังทั้ง 5 สาย ในพื้นที่อำเภอสิชล เพื่อเป็นข้อมูลเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดภัยแล้ง ทั้งนี้เนื่องจาก อ.สิชล เป็นพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัย เกิดดินถล่มเมื่อปี 2554 ทำให้สภาพป่าต้นน้ำลำคลองสายต่าง ๆ ได้รับผลกระทบ ลำคลองมีสภาพตื้นเขิน เส้นทางการเดินของน้ำเปลี่ยนแปลง ประกอบกับในระยะนี้ได้เกิดฝนทิ้งช่วงมามากกว่า 1 เดือน หากไม่เตรียมพร้อมในการรับมือกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น จะทำให้ประชาชน เกษตรกร ในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน ทั้งจากภัยแล้งยามฝนทิ้งช่วง และดินถล่มเมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าฝน
ดังนั้น จึงได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลมาบูรณาการร่วมกัน จัดทำแผนแก้ไขปัญหาระยะสั้นและระยะยาว ทั้งการสำรวจ ขุดลอกคลอง แหล่งน้ำ ให้สามารถเก็บกักน้ำได้ สร้างฝายชะลอน้ำ เป็นช่วง ๆ รณรงค์ปลูกป่าต้นน้ำ และ สำรวจ ก่อสร้างหินทิ้ง เป็นรูปตัวที ที่หาดปากดวด หาดเสาเภา หาดปลายทอน หาดสวนสนและ หาดทุ่งใส ที่มีปัญหาคลื่นกัดเซาะ เพื่อให้เกิดเนินทรายมากขึ้น ขุดลอกร่องน้ำสิชล – คลองสิชล ที่มีตะกอนทรายเข้ามาทับถม ให้เรือประมงเข้าออกได้ รวมทั้งการตรวจสอบ เฝ้าระวังไม่ให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่า ส่วนที่บุกรุกแล้วจะได้มีการติดตามจับกุมมาดำเนินคดี ทั้งนี้เพื่อ รักษาสภาพแวดล้อมที่สมดุล และ ป้องกันภัยธรรมชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น