สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ห่วงไฟไหม้ป่าพรุ หลังปีที่ผ่านมาเสียหายกว่า 2 หมื่นไร่ ปีนี้เตรียมแผนการป้องกันโดยส่งเสริมประชาชนเลี้ยงแพะรอบป่า เพื่อให้แพะกินใบไม้ และ ให้ประชาชนนำใบไม้มาทำปุ๋ย
นายจิรศักดิ์ ชูความดี ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 นครศรีธรรมราช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยจากกรณีที่เกิดไฟไหม้ป่าพรุควนเคร็ง ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกัน 3 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช พัทลุงและสงขลา เมื่อปลายปี 2554 ต่อเนื่องปี 2555 จนสร้างความเสียหายกว่า 2 หมื่นไร่นั้น ปรากฏว่า ในปี 2556 ตลอดทั้งปี จ.นครศรีธรรมราชค่อนข้างจะมีฝนตกเยอะ ทำให้ไม้ในป่าพรุ โดยเฉพาะไม้เสม็ดมีการแตกหน่อเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว ป่าพรุจึงฟื้นคืนสภาพอย่างรวดเร็ว
โดยในฤดูร้อนปีนี้มีคาดการถึงอากาศจะร้อนจัดและแล้งกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทำให้ต้นไม้ที่ขึ้นมาใหม่จากการฟื้นฟูป่าพรุหลังเกิดเพลิงไม้นั้น ใบจะร่วงลงรอบ ๆ ลำต้น ซึ่งใบที่ร่วงมาและแห้งจะเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี หากมีเชื้อไฟก็จะเกิดไฟไหม้ป่าขึ้นมาได้อีก โดยสาเหตุของไฟไหม้ป่านั้น เกิดได้ทั้งจาก การเข้ามาหาของป่าของชาวบ้าน แล้วมีการจุดไฟเพื่อไล่ดักสัตว์ หรือไฟไหม้ลามมาจากพื้นที่ของชาวบ้านที่เผาใบไม้เข้ามาในพื้นที่ป่า และความร้อนใต้ผิวดินตามธรรมชาติ ซึ่งลักษณะของไฟที่ไหม้ในป่าพรุนั้น จะไหม้จากชั้นใต้ดินและจะมีควันพวยพุ่งขึ้นมา การดับไฟที่ไหม้ในป่าพรุนั้นทำยากมาก ไม่สามารถทำได้ภายใน 1 หรือ 2 วันเหมือนไฟป่าทั่วไป แต่อาจจะใช้เวลาเป็นเดือน ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งจากไฟไหม้ป่าพรุนั้น ไม่สามารถตีค่าได้ เพราะป่าพรุเป็นระบบนิเวศเฉพาะถิ่น เพื่อไม่ให้เกิดเหตุทำให้ป่าพรุเสียหายเหมือนที่ผ่านมา
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 จึงได้ดำเนินการป้องกันร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ทหาร ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย และเทศบาล ตั้งจุดสกัดและลาดตระเวณพื้นที่ป่าพรุอย่างเข้มข้น ทำโครงการส่งเสริมการเลี้ยงแพะในพื้นที่รอบป่า เพราะแพะเป็นสัตว์ที่กินใบไม้ที่จะเป็นเชื้อเพลิงในป่าพรุได้ดี รวมทั้งทำโครงการเก็บใบไม้มาทำปุ๋ยหมักสำหรับเกษตรในพื้นที่รอบๆ เพื่อเป็นการตัดวงจรการเกิดไฟป่าด้วย
นายจิรศักดิ์ ชูความดี ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 นครศรีธรรมราช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยจากกรณีที่เกิดไฟไหม้ป่าพรุควนเคร็ง ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกัน 3 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช พัทลุงและสงขลา เมื่อปลายปี 2554 ต่อเนื่องปี 2555 จนสร้างความเสียหายกว่า 2 หมื่นไร่นั้น ปรากฏว่า ในปี 2556 ตลอดทั้งปี จ.นครศรีธรรมราชค่อนข้างจะมีฝนตกเยอะ ทำให้ไม้ในป่าพรุ โดยเฉพาะไม้เสม็ดมีการแตกหน่อเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว ป่าพรุจึงฟื้นคืนสภาพอย่างรวดเร็ว
โดยในฤดูร้อนปีนี้มีคาดการถึงอากาศจะร้อนจัดและแล้งกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทำให้ต้นไม้ที่ขึ้นมาใหม่จากการฟื้นฟูป่าพรุหลังเกิดเพลิงไม้นั้น ใบจะร่วงลงรอบ ๆ ลำต้น ซึ่งใบที่ร่วงมาและแห้งจะเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี หากมีเชื้อไฟก็จะเกิดไฟไหม้ป่าขึ้นมาได้อีก โดยสาเหตุของไฟไหม้ป่านั้น เกิดได้ทั้งจาก การเข้ามาหาของป่าของชาวบ้าน แล้วมีการจุดไฟเพื่อไล่ดักสัตว์ หรือไฟไหม้ลามมาจากพื้นที่ของชาวบ้านที่เผาใบไม้เข้ามาในพื้นที่ป่า และความร้อนใต้ผิวดินตามธรรมชาติ ซึ่งลักษณะของไฟที่ไหม้ในป่าพรุนั้น จะไหม้จากชั้นใต้ดินและจะมีควันพวยพุ่งขึ้นมา การดับไฟที่ไหม้ในป่าพรุนั้นทำยากมาก ไม่สามารถทำได้ภายใน 1 หรือ 2 วันเหมือนไฟป่าทั่วไป แต่อาจจะใช้เวลาเป็นเดือน ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งจากไฟไหม้ป่าพรุนั้น ไม่สามารถตีค่าได้ เพราะป่าพรุเป็นระบบนิเวศเฉพาะถิ่น เพื่อไม่ให้เกิดเหตุทำให้ป่าพรุเสียหายเหมือนที่ผ่านมา
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 จึงได้ดำเนินการป้องกันร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ทหาร ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย และเทศบาล ตั้งจุดสกัดและลาดตระเวณพื้นที่ป่าพรุอย่างเข้มข้น ทำโครงการส่งเสริมการเลี้ยงแพะในพื้นที่รอบป่า เพราะแพะเป็นสัตว์ที่กินใบไม้ที่จะเป็นเชื้อเพลิงในป่าพรุได้ดี รวมทั้งทำโครงการเก็บใบไม้มาทำปุ๋ยหมักสำหรับเกษตรในพื้นที่รอบๆ เพื่อเป็นการตัดวงจรการเกิดไฟป่าด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น