จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 "โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทท่าอากาศยานภูมิภาคภูเก็ต ”
ที่ห้องจามจุรี 2 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นาวาอากาศเอกกันต์พัฒน์ มังคละศิริ รองผู้อำนวยการการท่าอากาศยานภูเก็ต เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 "โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทท่าอากาศยานภูมิภาคภูเก็ต ” ที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ร่วมกับกลุ่มบริษัท D 103 Consortium ประกอบด้วย บริษัทดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พีซีบีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ทูที คอนซัลติ้ง แอนด์เมเนจเมนท์ จำกัด และ Netherlands Airport Consultants กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา จัดขึ้น
ทั้งนี้การสัมมนารับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้เพื่อชี้แจงรายละเอียดเบื้องต้นของโครงการฯ ระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนา ตลอดจนนำข้อคิดเห็นไปประกอบการพิจารณาการจัดทำรายงานผลการศึกษาความต้องการและศักยภาพในการรองรับของท่าอากาศยาน และนำไปสู่การจัดทำแผนแม่บท โดยมีนายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนชุมชนและประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วม
นาวาอากาศเอกกันต์พัฒน์ มังคละศิริ รองผู้อำนวยการการท่าอากาศยานภูเก็ต กล่าวด้วย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินกิจการท่าอากาศยานมากว่า 35 ปี หรือดำเนินธุรกิจท่าอากาศยานด้วยมาตรฐานเหนือระดับ ให้บริการด้วยใจรัก พร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนตลอดมา มีท่าอากาศยานภูมิภาค ประกอบด้วย ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งที่สำคัญทั้งในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย
สำหรับท่าอากาศยานภูมิภาค มีสัดส่วนปริมาณเที่ยวบิน และผู้โดยสารประมาณร้อยละ 23-24 ของปริมาณเที่ยวบิน และผู้โดยสารทั้งหมดของท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และท่าอากาศยานภูมิภาค ยังมีบทบาทที่สำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางภาคเหนือและภาคใต้ และเป็นจุดศูนย์กลางการเชื่อมต่อกับภูมิภาคอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการหาแนวทางแก้ไขปัญหาปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้นจนถึงขีดความสามารถในการรองรับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลให้ ท่าอากาศยานภูเก็ตจำเป็นต้องมีการวางแผนแม่บทในการพัฒนาท่าอากาศยาน เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ
ทอท. และสามารถรองรับการขยายตัวของปริมาณการจราจรทางอากาศที่จะนำไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนต่อไป
ที่ห้องจามจุรี 2 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นาวาอากาศเอกกันต์พัฒน์ มังคละศิริ รองผู้อำนวยการการท่าอากาศยานภูเก็ต เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 "โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทท่าอากาศยานภูมิภาคภูเก็ต ” ที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ร่วมกับกลุ่มบริษัท D 103 Consortium ประกอบด้วย บริษัทดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พีซีบีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ทูที คอนซัลติ้ง แอนด์เมเนจเมนท์ จำกัด และ Netherlands Airport Consultants กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา จัดขึ้น
ทั้งนี้การสัมมนารับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้เพื่อชี้แจงรายละเอียดเบื้องต้นของโครงการฯ ระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนา ตลอดจนนำข้อคิดเห็นไปประกอบการพิจารณาการจัดทำรายงานผลการศึกษาความต้องการและศักยภาพในการรองรับของท่าอากาศยาน และนำไปสู่การจัดทำแผนแม่บท โดยมีนายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนชุมชนและประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วม
นาวาอากาศเอกกันต์พัฒน์ มังคละศิริ รองผู้อำนวยการการท่าอากาศยานภูเก็ต กล่าวด้วย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินกิจการท่าอากาศยานมากว่า 35 ปี หรือดำเนินธุรกิจท่าอากาศยานด้วยมาตรฐานเหนือระดับ ให้บริการด้วยใจรัก พร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนตลอดมา มีท่าอากาศยานภูมิภาค ประกอบด้วย ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งที่สำคัญทั้งในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย
สำหรับท่าอากาศยานภูมิภาค มีสัดส่วนปริมาณเที่ยวบิน และผู้โดยสารประมาณร้อยละ 23-24 ของปริมาณเที่ยวบิน และผู้โดยสารทั้งหมดของท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และท่าอากาศยานภูมิภาค ยังมีบทบาทที่สำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางภาคเหนือและภาคใต้ และเป็นจุดศูนย์กลางการเชื่อมต่อกับภูมิภาคอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการหาแนวทางแก้ไขปัญหาปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้นจนถึงขีดความสามารถในการรองรับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลให้ ท่าอากาศยานภูเก็ตจำเป็นต้องมีการวางแผนแม่บทในการพัฒนาท่าอากาศยาน เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ
ทอท. และสามารถรองรับการขยายตัวของปริมาณการจราจรทางอากาศที่จะนำไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น