นายเนาวรัตน์ ปานสุวรรณ ผู้อำนวยการ สกย.จ.นครศรีธรรมราช เขต 2 กล่าวในขณะนี้ ราคายางตกต่ำอย่างมากในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา สังเกตว่า ยางจะมีปัญหาทุก ๆ 5 ปี มีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัญหาภายในประเทศ การเมือง เศรษฐกิจโลก และผู้ใช้ยางลดลง ช่วงที่ผ่านมาประเทศจีนซื้อยางจากไทยมากที่สุด แต่ขณะนี้ซื้อยางน้อยลง เนื่องจากจีนจำกัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่ให้โตเกินมากเกินไป ทำให้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของไทย ประเทศไทยผลิตยางปีละ 3.9 ล้านตัน ขายให้จีน 1 ล้านตัน ที่เหลือ 2.9 ล้านตัน ส่งไปขายยุโรป และ สหรัฐอเมริกา แต่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้มีผลเกี่ยวโยงถึงราคายางในปัจจุบัน
แต่ปัญหาสำคัญที่สุดคือปัญหาการเมืองภายในประเทศไทย สกย.เป็นห่วงเรื่องนี้ โดยเฉพาะเกษตรกรในภาคใต้ 99 % ปลูกสร้างสวนยาง สกย.จึงส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่ม รวบรวมยางนำไปขายที่สหกรณ์ หรือรวมตัวกันแปรรูปยางแผ่นดิบ หรือยางก้อนถ้วย เก็บไว้รอขายในช่วงยางขึ้นราคา แต่ในปัจจุบันสหกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ จัดตลาดให้เกษตรกรนำยางมาขาย ช่วยดึงราคาขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง แต่เกษตรกรส่วนใหญ่จะขายน้ำยางสด ทำให้น่าเป็นห่วง เพราะว่าจะไม่สามารถเก็บยางไว้เก็งราคาได้เลย ชาวสวนยางน่าจะกลับมาใช้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ทำยางแผ่นดิบ หรือ ยางก้นถ้วย ที่เรียกว่าขี้ยาง จะทำให้การต่อรองได้ เพราะเกษตรกรเก็บยางไว้ได้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ยางหายไปจากท้องตลาด
กรมวิชาการและสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประเมินต้นทุนผลิตยางแผ่นดิบอยู่ที่ กก.ละ 64 บาท แต่ราคายางในขณะนี้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้ นอกจากส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกัน เพื่อให้มีพลังต่อรองราคากับพ่อค้าได้ และ สกย.มีนโยบาย ส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรผสมปุ๋ยใช้เอง ได้ให้นโยบาย สกย.สาขาอำเภอ ไปประชุมกลุ่มเกษตรกรแนะนำเรื่องนี้แก่ชาวสวนยาง โดย พนักงาน สกย.ในพื้นที่ ยินดีให้คำแนะนำ
แต่ปัญหาสำคัญที่สุดคือปัญหาการเมืองภายในประเทศไทย สกย.เป็นห่วงเรื่องนี้ โดยเฉพาะเกษตรกรในภาคใต้ 99 % ปลูกสร้างสวนยาง สกย.จึงส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่ม รวบรวมยางนำไปขายที่สหกรณ์ หรือรวมตัวกันแปรรูปยางแผ่นดิบ หรือยางก้อนถ้วย เก็บไว้รอขายในช่วงยางขึ้นราคา แต่ในปัจจุบันสหกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ จัดตลาดให้เกษตรกรนำยางมาขาย ช่วยดึงราคาขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง แต่เกษตรกรส่วนใหญ่จะขายน้ำยางสด ทำให้น่าเป็นห่วง เพราะว่าจะไม่สามารถเก็บยางไว้เก็งราคาได้เลย ชาวสวนยางน่าจะกลับมาใช้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ทำยางแผ่นดิบ หรือ ยางก้นถ้วย ที่เรียกว่าขี้ยาง จะทำให้การต่อรองได้ เพราะเกษตรกรเก็บยางไว้ได้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ยางหายไปจากท้องตลาด
กรมวิชาการและสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประเมินต้นทุนผลิตยางแผ่นดิบอยู่ที่ กก.ละ 64 บาท แต่ราคายางในขณะนี้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้ นอกจากส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกัน เพื่อให้มีพลังต่อรองราคากับพ่อค้าได้ และ สกย.มีนโยบาย ส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรผสมปุ๋ยใช้เอง ได้ให้นโยบาย สกย.สาขาอำเภอ ไปประชุมกลุ่มเกษตรกรแนะนำเรื่องนี้แก่ชาวสวนยาง โดย พนักงาน สกย.ในพื้นที่ ยินดีให้คำแนะนำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น